ดอกไม้ไทย
ดอกนางพญาเสือโคร่งหรือดอกซากุระแดนสยาม เรามาอ่านสรรพคุณและเรื่องราวเกี่ยวกับดอกไม้กันเถอะ
๑๖.ดอกนางพญาเสือโคร่ง
ดอกนางพญาเสือโคร่งชื่อวิทยาศาสตร์:Prunuscerasoidesอังกฤษ:WildHimalayanCherryเป็นพืชดอกในสกุลprunusออกดอกช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์พบทั่วไปบนภูเขาตั้งแต่ความสูง1,200 2,400เมตรจากระดับน้ำทะเลเช่นภูลมโลจังหวัดเลยดอยแม่สลองจังหวัดเชียงราย,ดอยเวียงแหงดอยอ่างขางขุนช่างเคี่ยน ขุนแม่ยะ จังหวัดเชียงใหม่, ขุนสถานดอยวาว ดอยภูคา มณีพฤกษ์ จังหวัดน่าน,ภูทับเบิกจังหวัดเพชรบูรณ์,ภูหินร่องกล้าจังหวัดพิษณุโลกฯลฯ
โดยเป็นดอกไม้ประจำอำเภอเวียงแหงนางพญาเสือโคร่งเป็นพรรณไม้ที่มีการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติอยู่ที่ตอนเหนือของประเทศไทย
สรรพคุณ เปลือกต้นใช้ทำเป็นยาดองเหล้าดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย หรือจะใช้เปลือกต้นที่ตากแห้งแล้วใช้ผสมกับม้ากระทืบโรง โด่ไม่รู้ลืม ตานเหลือง มะตันขอ ข้าวหลามดง หัวยาข้าวเย็น ไม้มะดูก แก่นฝาง ลำต้นฮ่อสะพายควาย และจะค่าน นำมาต้มเป็นยาดื่ม เปลือกใช้เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยบำรุงเลือด เปลือกใช้ต้มเป็นยาบำรุงธาตุในร่างกาย ช่วยบำรุงกองธาตุให้เป็นปกติ ช่วยอาการปวดฟัน ป้องกันฟันผุ ด้วยการใช้เปลือกต้น นำมาถากออกเป็นแผ่นแล้วนำมาเผาไฟ แล้วนำผงที่ได้มาทาบริเวณที่ปวดฟันหรือฟันผุ เปลือกต้นช่วยขับลมในลำไส้ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร ช่วยชำระล้างไตให้สะอาดมากขึ้น ช่วยบำบัดอาการของผู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวกับมดลูกของสตรีไม่สมบูรณ์ หรือมดลูกชอกช้ำหรืออักเสบอันเนื่องมาจากการถูกกระทบกระเทือน การแท้งบุตร หรือมดลูกไม่แข็งแรงให้หายเร็วเป็นปกติ ช่วยบำรุงเส้นเอ็นให้แข็งแรงรากใช้ต้มเป็นน้ำดื่มร่วมกับรากโด่ไม่รู้ล้ม ใช้ดื่มเป็นยาแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย หรือจะใช้เปลือกต้นที่ตากแห้งแล้วใช้ผสมกับม้ากระทืบโรง โด่ไม่รู้ล้ม ตานเหลือง มะตันขอ ข้าวหลามดง หัวยาข้าวเย็น ไม้มะดูก แก่นฝาง ลำต้นฮ่อสะพายควาย และจะค่าน นำมาต้มเป็นยาดื่ม เปลือกต้นมีน้ำมันหอมระเหยชนิดหนึ่งที่มีกลิ่นฉุนแรงคล้ายน้ำมันระกำ หากทิ้งไว้จนเปลือกแห้ง กลิ่นจะทำให้เส้นเอ็นแข็งแรงเปลือกต้นมีกลิ่นหอม ใช้ดมแก้อาการหน้ามืดตาลายได้
ภาพดอกนางพญาเสือโคร่ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น