วันจันทร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ดอกแคแสด

ดอกไม้ไทย
๖ฺ ดอกแคแสด
แคแสด ชื่อสามัญ Africom tulip tree, Fire bell, Fountain tree, Pichkari, Nandi flame, Syringeแคแสด ชื่อวิทยาศาสตร์ Spathodea campanulata P.Beauv. จัดอยู่ในวงศ์แคหางค่าง(BIGNONIACEAE)
สมุนไพรแคแสด มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า แคแแคแสด เป็นไม้ยืนต้นชนิดมีดอกสวยงาม มีขนาดต้นปานกลางถึงขนาดใหญ่ แล้วแต่สิ่งแวดล้อมที่อยู่ ต้นสูง 70 ฟุตหรือมากกว่านั้น ถ้ามีอายุมาก ๆ เป็นไม้เนื้ออ่อน เมื่อต้นแก่ ข้างในเป็นโพรงเป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดจากอาฟริกา ดอกมีรูปทรงคล้ายดอกทิวลิป เวลาแรกแย้มจึงได้ชื่อว่า African Tulip แคแสดอยู่ในวงศ์ Bignoniaceae รวมอยู่ในวงศ์เดียวกันกับต้นไส้กรอก (Sausage tree) ซึ่งในปัจจุบันเพิ่งมีคนสั่งมาปลูกกันในเมืองไทย แต่แคแสด (Tulip tree) นั้น ปลูกกันในเมืองไทยมานานหลายสิบกว่าปีมาแล้ว จะเห็นและพบต้นใหญ่ ๆ เก่า ๆ อยู่ตามวังเจ้านายบางพระองค์ เช่นที่วังแดง ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ทำการของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่เทเวศร์ กรุงเทพฯแคแสดเป็นต้นไม้ไม่ผลัดใบ (evergreen trees) ที่นิยมปลูกตามริมถนนในเทศบาลเมือง ที่มีอากาศร้อนหลายประเทศ รวมทั้งเมืองไทยเราก็มีปลูกอยู่ตามบ้านและสถานที่ราชการทั่วไป มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Spathodea cam- panulata คำว่า spathodea หมายถึงลักษณะของกลีบดอก (Calyx) มีลักษณะเป็น Spath (Spathelike) รวมกันเป็นรูปถ้วย (cup shaped) แคแสดหรือ African Tulip Tree นี้ มีช่อดอกตั้งตรงสีแดงส้ม หรือแดงแสดสดุดตา ในช่อดอกหนึ่งอาจมีดอก 6-8 ดอก ช่อดอกออกตามยอดกิ่ง ตัดกับสีใบเขียวแก่ จึงทำให้เป็นไม้ยืนต้นที่มีดอกงามต้นหนึ่งการขยายพันธุ์และการดูแลรักษาการขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดเป็นวิธีที่ง่ายและได้ปริมาณมาก ได้ผลสูง การขยายพันธุ์โดยวิธีอื่น ๆ เช่น การตอน ปักชำนั้น ไม่ค่อยมีผู้นิยมทำกัน เพราะแคแสดที่ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดนั้น ก็เจริญเติบโตรวดเร็วจะออกดอกภายในระยะเวลา 3 ปี ลักษณะนิสัยของแคแสดนั้นชอบแดด ปลูกกลางแจ้งที่มีแสงแดดส่องโดยตรงตลอดวัน ถ้าหากปลูกในที่ร่มหรือนำกล้าที่เพาะจากเมล็ดมาปลูกชำไว้ในที่ร่มสักหน่อย จะทำให้ต้นสูงชลูดไม่แตกกิ่ง เมื่อนำลงปลูกในดินต้องตัดยอดให้สั้นลงเพื่อให้แตกกิ่งเป็นพุ่ม แคแสดชอบดินร่วนทราย มีอินทรีย์วัตถุและมีการระบายน้ำได้ดี ถ้าหากนำกล้าที่เพาะจากเมล็ดงอกเป็นต้นสูงประมาณ 5 นิ้ว ไปปลูกกลางแจ้งเลยทีเดียวแล้ว จะทำให้ต้นมี ทรงพุ่มงามกว่าชำไว้จนต้นสูงชลูดถึง 3 ฟุตแล้ว จึงนำไปปลูกกลางแจ้งลงดิน ในระยะแรกเมื่อต้นยังเล็กอยู่ ถ้าหากต้นสูงควรหาหลักปักยึดลำต้นกันลมพายุ แมลงศัตรูที่รบกวนมีบ้าง เช่น พันธุ์ไม้ธรรมดา เช่นแมลงกินใบอ่อนพวก หนอนด้วงปีกแข็งและเพลี้ยต่าง ๆ แต่ก็ไม่สำคัญและเป็นภัยร้ายแรงพิเศษไปกว่าพันธุ์ไม้ที่ถูกรบกวนทำนองนี้เป็นพื้น ๆ เช่นกัน แคแสด นี้ถ้าหากให้มีระยะแห้งแล้งระยะหนึ่งจะทำให้ดอกดกมาก แต่ก็ไม่ถึงกับทิ้งใบหมดเวลาออก ดอก นอกจากนี้ยังมีพวกแคแสดพันธุ์อื่นอีกคือ Spathodea vilotica คล้าย ๆ กับแคแสดชนิดแรก แต่ดอกสีแดงส้มอ่อนกว่าชนิดแรก อายุแก่กว่าชนิดแรก และจะมีฝักเป็นเมล็ดในที่ต่ำ ๆ (low elevation)ดง (กรุงเทพ), ยามแดง เป็นต้น โดยแคแสดนั้นเป็นพืชพื้นเมือง
สรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุในร่างกายช่วยแก้บิดเปลือกใช้พอกรักษาแผลเรื้อรัง ใบและดอกใช้พอกแผลเปลือก ใบ ดอก และผล ใช้พอกรักษาโรคผิวหนังและแผลเรื้อรังต่าง ๆ 
ภาพดอกแคแสด
แคแดง

ที่มา https://medthai.com/%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%94/

ดอกอัญชัน

ดอกไม้ไทย
ดอกอัญชันเป็นดอกไม้ที่สวยงามสามารถนำไปประกอบอาหารต่างๆและเป็นสมุนไพรด้วย
๕.ดอกอัญชัน
อัญชัน (ชื่อวิทยาศาสตร์Clitoria ternatea L.) เป็นไม้เถา ลำต้นมีขนนุ่ม มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ ปลูกได้ทั่วไปในเขตร้อน มีชื่อพื้นเมืองอื่น
ลักษณะ ทางพฤกษศาสตร์อัญชันเป็นไม้เลื้อยเนื้ออ่อน อายุสั้น ใช้ยอดเลื้อยพัน ลำต้นมีขนปกคลุม ใบประกอบแบบขนนก เรียงตรงข้ามยาว 6-12 เซนติเมตร มีใบย่อยรูปไข่ 5-7ใบ กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 3-5 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ผิวใบด้านล่างมีขนหนาปกคลุมดอกสีขาว ฟ้า และม่วง ดอกออกเดี่ยว ๆ รูปทรงคล้ายฝาหอยเชลล์ออกเป็นคู่ตามซอกใบ กลีบดอก 5 กลีบ ดอกบานเต็มที่ยาว 2.5-3.5 เซนติเมตรกลีบคลุมรูปกลม ปลายเว้าเป็นแอ่ง ตรงกลางมีสีเหลือง มีทั้งดอกซ้อนและดอกลา ดอกชั้นเดียวกลีบขั้นนอกมีขนาดใหญ่กลางกลีบสีเหลือง ส่วนกลีบชั้นในขนาดเล็กแต่ดอกซ้อนกลีบดอกมีขนาดเท่ากัน ซ้อนเวียนเป็นเกลียว ออกดอกเกือบตลอดปี ผลแห้งแตก เป็นฝักแบน กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 5-8 เซนติเมตร เมล็ดรูปไต สีดำ มี 5-10 เมล็ดการกระจายพันธุ์อัญชันมีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียเขตร้อนก่อนจะถูกนำไปแพร่พันธุ์ในแอฟริกา ออสเตรเลีย และอเมริกา ในลาว ไทย เวียดนามสรรพคุณ ดอกช้ปลูกผมทำให้ผมดกดำ งามงามมากขึ้น เพราะดอกอัญชันมีสารที แอนโทไซยานิน” (Anthocyanin) ซึ่งช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้ดีมากขึ้น เมล็ด เป็นยาระบายราก บำรุงตาแก้ตาฟาง ถูฟันแก้ปวดฟัน ตาแฉะ และปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ นำรากมาถูกับน้ำฝนใช้หยอดหูและหยอดตา
อัญชันในวรรณคดีในสมัยก่อนหญิงสาวมักนำอัญชันมาเขียนคิ้วให้ดำขลับซึ่งนิราศธารโศก และ มหาชาติคำหลวงนอีกคือแดงชันและเอื้องชัน,เองชัญเมื่อคั้นออกมาจะได้เป็นสีฟ้าน้ำอัญชันมีส่วนช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกายเครื่องดื่มน้ำอัญชันช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกายและเพิ่มพลังงานให้ร่างกายมีส่วนช่วยในการชะลอวัยและริ้วรอยแห่งวัยประโยชน์ของดอกอัญชันมีส่วนช่วยในการบำรุงสมอง เพิ่มการไหลเวียนเลือดดอกอัญชันมีฤทธิ์ในการละลายลิ่มเลือดช่วยป้องกันโรคเส้นเลือดสมองตีบช่วยรักษาอาการผมร่วง อัญชันทาคิ้ว ทาหัว ใช้เป็นยาปลูกผม ปลูกขนช่วยให้ดกดำเงางามยิ่งขึ้น ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดเส้นเลือดอุดตันช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจอุดตันช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็งด้วยสารต้านอนุมูลอิสระช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานอัญชันมีคุณสมบัติในการช่วยล้างสารพิษและของเสียออกจากร่างกายช่วบำรุงสายตา แก้อาการตาฟาง ตาแฉะ (น้ำคั้นจากดอกสดและใบสดช่วยป้องกันโรคต้อกระจก ต้อหิน ตาเสื่อมจากโรคเบาหวานช่วยเพิ่มความสามารถในการมองเห็นให้ดียิ่งขึ้นนำรากไปถูกับน้ำฝนนำมาใช้หยอดตาและหู นำมาถูฟันแก้อาการปวดฟันและทำให้ฟันแข็งแรง ใช้เป็นยาระบาย แต่อาจทำให้คลื่นไส้อาเจียนได้ใช้รากปรุงเป็นยาขับปัสสาวะแก้อาการปัสสาวะพิการสรรพคุณอัญชันใช้แก้อาการฟกช้ำช่วยป้องกันและแก้อาการเหน็บชาตามนิ้วมือนิ้วเท้านำมาทำเป็นเครื่องดื่มน้ำอัญชันเพื่อใช้ดับกระหายดอกอัญชันตากแห้งสามารถนำมาชงดื่มแทนน้ำชาได้เหมือนกันดอกอัญชันนำมารับประทานเป็นผัก เช่น นำมาจิ้มน้ำพริกสดๆหรือนำมาชุบแป้งทอดก็ได้น้ำดอกอัญชันนำมาใช้ทำเป็นสีผสมอาหารโดยให้สีม่วง เช่น ขนมดอกอัญชัน ข้าวดอกอัญชัน ช่วยปลูกผมทำให้ผมดกดำขึ้น ใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อย่าง ครีมนวดผม ยาสระผม เป็นต้น ประโยชน์ของอัญชันข้อสุดท้ายคือนิยมนำมาปลูกไว้ตามรั้วบ้านเพื่อความสวยงาม

ภาเพดอกอัญชัน
สรรพคุณอัญชัน

 ที่มา https://medthai.com/อัญชัน/


วันอาทิตย์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ดอกกล้วยไม้

                        ดอกไม้ไทย


๔. ดอกกล้วยไม้
ชื่อสามัญ:  Orchidชื่อท้องถิ่น:  เอื้อง ถิ่นกำเนิด:  ประเทศไทย เขตร้อน และเขตอบอุ่นทั่วโลก
ลักษณะวิสัย: ไม้อิงอาศัย: ส่วนใหญ่เป็นพืชอิงอาศัยพืชอื่น มีลำต้นเทียมออมน้ำหรือที่เรียกว่าลำลูกกล้วย  ดอกสีสดใส  มีกลิ่นหอม   กลีบเลี้ยงมี 3 กลีบ ซึ่ง 1 กลีบ  จะมีรูปร่างเปลี่ยนเป็นปากหรือกระเป๋าเกสร  เพศผู้และเกสรเพศเมียรวมกันเป็นหนึ่งเดียว  ซึ่งเรียกว่าเส้าเกสร  ได้แก่กล้วยไม้ชนิดต่างกล้วยไม้มีระบบรากแบ่งเป็นหลายชนิด  เช่นรากดิน  รากกึ่งดิน  รากอากาศ   รากกึ่งอากาศ     กล้วยไม้เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว  คือเส้นใบจะอยู่ในลักษณะขนานกันไปตามความยาวของใบ  ใบของกล้วยไม้มีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปตามชนิดของกล้วยไม้  นับตั้งแต่รูปร่าง  สีสัน  ขนาดและการทรงตัวตามธรรมชาติ  ลักษณะใบของกล้วยไม้มีหลายชนิด  เช่น ใบแบน ใบกลม และใบร่องซึ่งเป็นรูปผสมระหว่างพวกใบกลม กับใบแบน ส่วนมากแล้วจะมีลักษณะแบน  ดอกกล้วยไม้เป็นดอกสมบูรณ์เพศ  คือ  เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย อยู่ในดอกเดียวกันมีหน้าที่ในการสืบพันธุ์  ลำต้นหมายถึง ส่วนที่เป็นข้อ   บริเวณส่วนเหนือข้อ  และติดอยู่กับข้อจะมีตา   ตาอาจจะแตกเป็นหน่ออ่อน  กึ่งอ่อนหรือช่อดอกก็ได้   ส่วนที่ตัดเป็นข้อ   เป็นส่วนที่มีใบ  กาบใบหรือกาบของลำต้นที่ไม่มีส่วนของใบเจริญออกมาได้   ที่อยู่ระหว่างข้อเรียกว่า  ปล้อง  สำหรับลำต้นของกล้วยไม้ที่โผล่พ้นจากเครื่องปลูกแบ่งได้  2 ประเภท คือลำต้นแท้และลำต้นเทียม

สรรพคุณ มีตั้งแต่ กระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย รักษาโรคมะเร็ง เสริมสร้างการมองเห็น และที่ขาดไม่ได้ถ้าเป็นยาจีนคือ สรรพคุณทางด้านเซ็กซ์ ส่วนของกล้วยไม้ที่นำมาใช้ส่วนใหญ่ใช้ลำต้น(ลำลูกกล้วย) [บางครั้งอาจเรียกว่าหัว เพราะมีลักษณะคล้ายหัวจริง(bulb)] โดยหั่นเป็นชิ้นเล็กๆนำไปตากแห้ง เวลารับประทานก็ชงน้ำร้อนแบบเดียวกับชา นอกจากนี้ชาวจีนยังนำดอกกล้วยไม้บางพันธู์ ตัวอย่างเช่น Dendrobium chrysotoxum มาตากแห้งแล้วชงเป็นเครื่องดื่มเรียกว่า "ชาดอกกล้วยไม้" ซึ่งเป็นชาชนิดพิเศษสุด มีค่ามากและหายาก ชาชนิดนี้ดื่มแล้วทำให้นอนหลับสบาย ไม่ฝันร้าย(เขาว่าอย่างนั้น) ช่วยลดความดันโลหิต และที่เหนือไปกว่านั้นคือเพิ่มพลังอย่างว่าให้กลับคืนมาอย่างรวดเร็ว(ว่าเข้าไปนั่น) สมช.หลายคนคงหูผึ่งแล้วสินะ แต่ขอโทษทีไม่รู้จะหาซื้อชาชนิดนี้ได้ที่ไหน?   


ภาพดอกกล้วยไม้

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สรรพคุณ ดอกกล้วยไม้

ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89

วันอาทิตย์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ดอกขจร

ดอกไม้ไทย
ดอกไม้ประจำชาติไทยมีทั้ความสวยงามและยังเป็นยาสมุนไพร และยาสามัญประจำบ้าอีกด้วย แถมดอกไม้บ้่งชนิดสามมารถนำไปประประกอบอาหารได้อีกด้วยอย่างเช่น ดอกขจร
๓.ดอกขจร(สลิด)
ขจร หรือ สลิด ชื่อสามัญ : Cowslip creeper ชื่อวิทยาศาสตร์ : Telosma minor Craib ชื่อวงศ์ : ASCLEPIADACEAE รส : ดอกมีรสเย็นขมหอม ราก มีรสเย็นเบื่อ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ขจร (Cowslip creeper) เป็นไม้เลื้อยเถาเล็กแตกยอดจำนวนมาก ทุกส่วนของลำต้นมีน้ำยางขาว ใบเป็นใบเดี่ยวเรียง ตรงข้าม เป็น ใบคู่เป็นรูปหัวใจ กว้างและยาว 6 – 10 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบเว้า ขอบใบเรียบ มีช่อดอกสีเหลืองอมชมพู อ่อน ออก เป็นช่อแบบซี่ร่ม ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันส่วนปลายแยก 5 แฉกกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ปลายกลีบ แยก เป็น 5 แฉก ดอกบานไม่พร้อมกันดอกอ่อนสีเขียว เมื่อบานเริ่มหอมตั้งแต่ช่วงบ่าย ดอกออกมากตั้งแต่ต้นฤดูหนาว การปลูกและดูแลรักษา : ขจร เป็นไม้ที่ขึ้นได้ดีในดินทุกสภาพ แต่ถ้าจะให้ดีควรปลูกในดินร่วนปนทราย หรือดินที่มีความร่วนซุยมากๆ ขจรเป็นไม้ที่ชอบแดดจัดไม่ต้องการน้ำมากนัก และทนต่อสภาพความแห้งแล้งได้ดี ดังนั้นการรดน้ำให้รด 2 วันต่อครั้ง สรรพคุณทางยาดอกขจร : ยอดอ่อน ดอก ลูกอ่อน บำรุงธาตุ บำรุงตับ ปอด แก้เสมหะเป็นพิษ ราก ทำให้อาเจียน ถอนพิษเบื่อเมา ประโยชน์ทางอาหารดอกขจร : ยอดอ่อน ดอก ผลอ่อน รับประทานสดหรือลวกให้สุกรับประทานร่วมกับน้ำพริก ดอกนำไปปรุงอาหาร เช่น ผัด แกงจืด แกงส้ม ส่วนที่ใช้เป็นอาหารดอกขจร : ยอดอ่อน ดอกตูมและบาน ผลอ่อน ยอดอ่อนและดอกขจรในปริมาณ 100 กรัม มีวิตามิน แร่ธาตุต่างๆ คือวิตามินเอ มากถึง 3,150 I.U. วิตามินซี 45 มิลลิกรัม แคลเซียม 70 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 90 มิลลิกรัม
ลักษณะของขจร
ต้นขจร หรือ ต้นสลิด มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและอินเดีย โดยจัดเป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันกับต้นไม้ชนิดอื่น สามารถเลื้อยพันไปได้ไกลประมาณ 2-5 เมตร เถามีขนาดเล็ก ลักษณะกลมเหนียวมากและเป็นสีเขียว เมื่อแก่เถาขจรจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ตามยอดอ่อนมีขนสีขาวขึ้นปกคลุม แตกใบเป็นพุ่มแน่นและทึบ ทำให้บางครั้งพุ่มของของต้นขจรจะแผ่ปกคลุมต้นไม้อื่นได้มิดเลยทีเดียว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำและวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย ชอบแสงแดดจัด สามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยจะขึ้นได้ตามป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าละเมาะ ป่าเต็งรัง
สรรพคุณช่วยบำรุงโลหิต ช่วยรักษาโลหิตเป็นพิษ ช่วยบำรุงหัวใจ แก่นและเปลือกใช้เป็นยาบำรุงธาตุในร่างกาย ดอกและยอดใบอ่อนมีวิตามินสูง การรับประทานเป็นประจำจะช่วยบำรุงสายตาได้เป็นอย่างดี  ยอดใบอ่อน ช่วยรักษาหวัดที่เกิดจากการตากลมหรือตากอากาศเย็น ช่วยบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน รากมีรสเบื่อเย็น ใช้รับประทานเพื่อให้เกิดอาการอาเจียน ช่วยถอนพิษยาเยื่อเบา รากนำมาฝนหยอดตาแก้ตาอักเสบ ตาแดง ตาแฉะ ตามัว บ้างว่านำมาใช้ผสมกับยาหยอดตาแล้วใช้หยอดตา ช่วยขับเสมหะ แก้เสมหะและโลหิต ดอกมีรสเย็นขมและหอม ช่วยบำรุงปอด ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยในการขับถ่ายช่วยบำรุงฮอร์โมนของสตรีช่วยบำรุงตับและไต รากใช้เป็นยาดับพิษทั้งปวงช่วยทำให้รู้รสชาติของอาหารและช่วยดับพิษยา ดอกใช้เข้าเครื่องยาหอม
ข้อควรระวัง ! : ลำต้นเป็นพิษต่อสุกร



                                  ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ดอกขจร

ที่มา:https://medthai.com/%E0%B8%82%E0%B8%88%E0%B8%A3/

วันอาทิตย์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ดอกปีบ




ดอกไม้ไทย
.ดอกปีบ
ปีบ ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Millingtonia hortensis   L.f.ชื่อสามัญ :    Cork Tree , Indian Corkวงศ์ :   BIGNONIACEAEชื่ออื่น :  กาซะลอง กาดสะลอง (ภาคเหนือ) เต็กตองโพ่ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  ไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงประมาณ 5-10 เมตร ลำต้นตรง เปลือกมีสีเทาเข้มแตกเป็นร่องลึก มีช่องอากาศ รากเกิดเป็นหน่อ เจริญเป็นต้นใหม่ได้ ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก 3 ชั้น กว้าง 13-20 ซม. ยาว 16-26 ซม. ก้านใบยาว 3.5-6 ซม. ตัวใบประกอบด้วยแกนกกกลางยาว 13-19 ซม. มีใบย่อย 4-6 คู่ ใบย่อย 4-6 คู่ กว้าง 2.5-3 ซม. ยาว 4-5 ซม. มีรูปร่างเป็นรูปหอกแกมรูปไข่ ฐานใบรูปลิ่ม ขอบหยักเป็นซี่หยาบ ปลายเรียวแหลม เนื้อใบบางคล้ายกระดาษ เกลี้ยง ดอกเป็นดอกช่อกระขุกแยกแขนง ยาว 10-25 ซม. ดอกย่อยประกอบด้วย กลีบเลี้ยง มีสีเขียว กว้างประมาณ 0.5 ซม. ยาวประมาณ 0.5 ซม. เชื่อมกันเป็นรูประฆังปลายตัด กลีบดอกมีสีขาว กลิ่นหอม กว้างประมาณ 0.5 ซม. ยาว 6-10 ซม. เชื่อมกันเป็นหลอดปากแตร แยกเป็น 5 แฉก 3 แฉกรูปขอบขนาน 2 แฉกล่างค่อนข้างแหลม เกสรเพศผู้มีจำนวน 4 อัน สองคู่ยาวไม่เท่ากัน เกสรเพศเมียมีจำนวน 1 อัน อยู่เหนือวงเกลีบ ออกดอกประมาณเดือนพฤศจิกายน - พฤษภาคม ผล เป็นผลแห้งแตก ลักษณะแบนยาวขอบขนาน มีเนื้อ เมล็ดมีจำนวนมา เป็นแผ่นบางมีปีก
" ดอกปีบ " เป็นสัญลักษณ์ของพยาบาลไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ . 2534 เป็น ต้นมา เนื่องจาก " ดอกปีบ " เป็นดอกไม้สีขาวที่มีกลิ่นหอม ต้นปีบเป็นไม้ยืนต้น ขึ้นได้ในที่ดินแห้งแล้ง ราก ลำต้น และดอกใช้เป็นสมุนไพรได้ เปรียบกับพยาบาลในชุด สีขาวผู้พร้อมที่จะประกอบคุณงามความดี ประดุจกลิ่นหอมของดอกปีบ และพร้อมที่สร้างประโยชน์เช่นเดียวกับการเป็นสมุนไพรของ " ดอกปีบ " "ดอกปีบ" เป็น ดอกไม้ประจำจังหวัดปราจีนบุรีมีชื่ออื่นเช่น กาซะลอง กาดสะลอง (ภาคเหนือ), เต็กตองโพ่ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)"ดอกปีบ"  เป็นดอกไม้ประจำของนางโคราคเทวีซึ่งเป็นนางประจำวันจันทร์ในธิดาของพระอินทร์ คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นปีปไว้ประจำบ้านจะทำให้เก็บเงินเก็บทองได้มาก เพราะ ปีป คือ ภาชนะที่ใช้ในการบรรจุของ ดังนั้นคนไทยโบราณเรียกภาชนะใส่ของที่มีค่าว่า ปีปเงิน ปีปทอง นอกจากนี้ยังเชื่ออีกว่าสามารถทำให้มีชื่อเสียงโด่งดัง เพราะปีปมีลักษณะแข็งและโปร่ง เวลาเคาะหรือตีจะเกิดเสียงดังไปไกล
 สรรพคุณ
ดอกมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง ช่วยบำรุงโลหิต รากช่วยบำรุงปอด ช่วยรักษาวัณโรค ใช้เป็นยารักษาไซนัสอักเสบ ช่วยรักษาริดสีดวงจมูก ด้วยการใช้ดอกที่ตากแห้งแล้วนำมามวนเป็นบุหรี่สูบเพื่อรักษาอาการ ช่วยรักษาอาการหอบหืด หอบเหนื่อย ทำให้ระบบการหายใจดียิ่งขึ้นด้วยการใช้ดอกปีบแห้งประมาณ 6-7ดอก แล้วมวนเป็นบุหรี่สูบ เพื่อรักษาอาการหอบหืดได้ ช่วยรักษาปอดพิการ ใช้เป็นยาแก้ลม ใบใช้มวนเป็นบุหรี่สูบแทนฝิ่น เพื่อช่วยขยายหลอดลมและรักษาอาการหอบหืดได้เช่นกัน
"ดอกปีบ" เป็นต้นไม้ที่ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคและศัตรู เพราะมีความทนทานสภาพธรรมชาติได้ดี...เหมือนพยาบาลที่มีความอดทนเป็นเลิศต้องพร้อมรับในทุกสถานะการณ์  ...ยิ้มรับได้เสมอ
 ภาพดอกปีบ
                    https://scontent-fbkk5-7.us-fbcdn.net/v1/t.1-48/1426l78O9684I4108ZPH0J4S8_842023153_K1DlXQOI5DHP/dskvvc.qpjhg.xmwo/w/data/741/
ที่มา 
https://medthai.com/%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B8%9A/

ดอกราชพฤกษ์

ดอกไม้ไทย
๑.ดอกราชพฤกษ์ (คูน)
ราชพฤกษ์ หรือ คูน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cassia fistula) เป็นไม้ดอกในตระกูล Fabaceae เป็นพืชพื้นเมืองของเอเชียใต้ ตั้งแต่ทางตอนใต้ของปากีสถาน ไปจนถึงอินเดีย ศรีลังกา พม่า และไทย ดอกราชพฤกษ์เป็นดอกไม้ประจำชาติไทย โดยมีการเสนอให้ดอกราชพฤกษ์ เป็นดอกไม้ประจำชาติไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 แต่ก็ยังไม่ได้ข้อสรุปแน่ชัด จนกระทั่งมีการลงนามให้เป็นดอกไม้ประจำชาติไทย เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2544 นิยมปลูกเป็นไม้ประดับในพื้นที่เขตร้อนและกึ่งเขตร้อน เจริญเติบโตได้ดีที่สุดในที่โล่งแจ้ง สามารถปลูกได้ทั้งดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียว ทนต่อความแห้งชื่อของราชพฤกษ์นั้นมีการเรียกแตกต่างกันออกไปในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งส่วนใหญ่จะเรียกราชพฤกษ์ว่า คูน เนื่องจากจำง่ายกว่า (แต่มักจะเขียนผิดเป็น คูณ) ทางภาคเหนือเรียกว่า ลมแล้ง ทางภาคใต้เรียกว่า ราชพฤกษ์ ลักเกลือ หรือ ลักเคย ชาวกะเหรี่องและในกาญจนบุรีเรียกว่า กุเพยะแล้งและดินเค็มได้ดี แต่ไม่ทนในอากาศหนาวจัด ซึ่งอาจติดเชื้อราหรือโรคใบจุดได้ต้นราชพฤกษ์เป็นต้นไม้มงคลนิยมใช้ประกอบพีธีที่สำคัญ เช่น พีธีเสาไม้หลักเมือง เป็นส่วนประกอบในการทำคฑาจอมพล และ ยอดธงชัยเฉลิมพลของกองทหาร ทำพิธีปลูกบ้าน ฯลฯ

คนไทยในสมัยโบราณเชื่อว่า ควรปลูกต้นราชพฤกษ์ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของที่อยู่อาศัย เพื่อให้ผู้ที่อยู่อาศัยในบ้านเรือนมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นทวีคูณ ซึ่งความเป็นจริงคือทิศดังกล่าวจะได้รับแดดจัดตลอดช่วงบ่าย จึงควรปลูกต้นไม้ใหญ่เพื่อให้ลดความร้อนและทำให้ประหยัดพลังงานมากขึ้น
คนไทยในสมัยโบราณยังมีความเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นราชพฤกษ์ไว้ประจำบ้านจะช่วยให้มีเกียรติมีศักดิ์ศรี ด้วยคนไทยส่วนใหญ่ยอมรับว่าต้นราชพฤกษ์เป็นต้นไม้ที่มีคุณค่าสูงและยังเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติไทยอีกด้วย นอกจากนี้มีความเชื่อว่า ใบของต้นราชพฤกษ์เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพราะในพิธีทางไสยศาสตร์ให้ใบทำน้ำพุทธมนต์สะเดาะเคราะห์ได้ผลดีดังนั้นจึงถือว่าต้นราชพฤกษ์เป็นไม้มงคล
สรรพคุณ 
ฝักแก่ เนื้อสีน้ำตาลดำและชื้นตลอดเวลา มีรสหวาน สามารถใช้เป็นยาระบายได้ โดยนำฝักมาต้มกับน้ำ และเติมเกลือเล็กน้อย ดื่มก่อนนอนหรือก่อนรับประทานอาหาร นอกจากนั้น ฝักแก่ยังมีสารที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทของแมลง เมื่อนำฝักมาบดผสมน้ำแช่ทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน สารละลายที่กรองได้สามารถฉีดพ่นกำจัดแมลงและหนอนในแปลงผักได้ ฝักแก่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้มด้วยเตาเศรษฐกิจ มีขนาดที่พอเหมาะ ไม่ต้องผ่า เลื่อยหรือตัด เนื้อของฝักแก่ใช้แทนกากน้ำตาลในการทำหัวเชื้อจุลินทรีย์และจุลินทรีย์ขยาย ฝักอ่อน สามารถใช้ขับเสมหะได้ใบ สามารถนำมาใช้ในการฆ่าเชื้อโรคได้
  • ดอก ช่วยแก้แผลเรื้อรัง ใช้เป็นยาถ่าย ยาระบาย ช่วยหล่อลื่นลำไส้ รักษาโรคที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหาร
นอกจากนั้น ราชพฤกษ์ยังเป็นพืชที่มีฤทธิ์ทางอัลลีโลพาที สารสกัดจากฝักด้วยเอทานอลสามารถยับยั้งการเจริญ
ภาพดอกราชพฤกษ์
ที่มา:
https://medthai.com/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C/

จันทร์เทศ

ดอกไม้ไทย น้ำมันลูกจันทน์และน้ำมันดอกจันทน์มีฤทธิ์ในการฆ่าลูกน้ำและตัวอ่อนของแมลงได้ ๕๐. จันทร์เทศ จันทน์เทศ ชื่อสามัญ  Nutmeg ชื่อว...