ดอกไม้ไทย
ดอกไม้ประจำชาติไทยมีทั้ความสวยงามและยังเป็นยาสมุนไพร และยาสามัญประจำบ้าอีกด้วย แถมดอกไม้บ้่งชนิดสามมารถนำไปประประกอบอาหารได้อีกด้วยอย่างเช่น ดอกขจร
๓.ดอกขจร(สลิด)
ขจร หรือ สลิด ชื่อสามัญ : Cowslip creeper ชื่อวิทยาศาสตร์ : Telosma minor Craib ชื่อวงศ์ : ASCLEPIADACEAE รส : ดอกมีรสเย็นขมหอม ราก มีรสเย็นเบื่อ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ขจร (Cowslip creeper) เป็นไม้เลื้อยเถาเล็กแตกยอดจำนวนมาก ทุกส่วนของลำต้นมีน้ำยางขาว ใบเป็นใบเดี่ยวเรียง ตรงข้าม เป็น ใบคู่เป็นรูปหัวใจ กว้างและยาว 6 – 10 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบเว้า ขอบใบเรียบ มีช่อดอกสีเหลืองอมชมพู อ่อน ออก เป็นช่อแบบซี่ร่ม ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันส่วนปลายแยก 5 แฉกกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ปลายกลีบ แยก เป็น 5 แฉก ดอกบานไม่พร้อมกันดอกอ่อนสีเขียว เมื่อบานเริ่มหอมตั้งแต่ช่วงบ่าย ดอกออกมากตั้งแต่ต้นฤดูหนาว การปลูกและดูแลรักษา : ขจร เป็นไม้ที่ขึ้นได้ดีในดินทุกสภาพ แต่ถ้าจะให้ดีควรปลูกในดินร่วนปนทราย หรือดินที่มีความร่วนซุยมากๆ ขจรเป็นไม้ที่ชอบแดดจัดไม่ต้องการน้ำมากนัก และทนต่อสภาพความแห้งแล้งได้ดี ดังนั้นการรดน้ำให้รด 2 วันต่อครั้ง สรรพคุณทางยาดอกขจร : ยอดอ่อน ดอก ลูกอ่อน บำรุงธาตุ บำรุงตับ ปอด แก้เสมหะเป็นพิษ ราก ทำให้อาเจียน ถอนพิษเบื่อเมา ประโยชน์ทางอาหารดอกขจร : ยอดอ่อน ดอก ผลอ่อน รับประทานสดหรือลวกให้สุกรับประทานร่วมกับน้ำพริก ดอกนำไปปรุงอาหาร เช่น ผัด แกงจืด แกงส้ม ส่วนที่ใช้เป็นอาหารดอกขจร : ยอดอ่อน ดอกตูมและบาน ผลอ่อน ยอดอ่อนและดอกขจรในปริมาณ 100 กรัม มีวิตามิน แร่ธาตุต่างๆ คือวิตามินเอ มากถึง 3,150 I.U. วิตามินซี 45 มิลลิกรัม แคลเซียม 70 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 90 มิลลิกรัม
ลักษณะของขจร
ต้นขจร หรือ ต้นสลิด มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและอินเดีย โดยจัดเป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันกับต้นไม้ชนิดอื่น สามารถเลื้อยพันไปได้ไกลประมาณ 2-5 เมตร เถามีขนาดเล็ก ลักษณะกลมเหนียวมากและเป็นสีเขียว เมื่อแก่เถาขจรจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ตามยอดอ่อนมีขนสีขาวขึ้นปกคลุม แตกใบเป็นพุ่มแน่นและทึบ ทำให้บางครั้งพุ่มของของต้นขจรจะแผ่ปกคลุมต้นไม้อื่นได้มิดเลยทีเดียว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำและวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย ชอบแสงแดดจัด สามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยจะขึ้นได้ตามป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าละเมาะ ป่าเต็งรัง
สรรพคุณช่วยบำรุงโลหิต ช่วยรักษาโลหิตเป็นพิษ ช่วยบำรุงหัวใจ แก่นและเปลือกใช้เป็นยาบำรุงธาตุในร่างกาย ดอกและยอดใบอ่อนมีวิตามินสูง การรับประทานเป็นประจำจะช่วยบำรุงสายตาได้เป็นอย่างดี ยอดใบอ่อน ช่วยรักษาหวัดที่เกิดจากการตากลมหรือตากอากาศเย็น ช่วยบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน รากมีรสเบื่อเย็น ใช้รับประทานเพื่อให้เกิดอาการอาเจียน ช่วยถอนพิษยาเยื่อเบา รากนำมาฝนหยอดตาแก้ตาอักเสบ ตาแดง ตาแฉะ ตามัว บ้างว่านำมาใช้ผสมกับยาหยอดตาแล้วใช้หยอดตา ช่วยขับเสมหะ แก้เสมหะและโลหิต ดอกมีรสเย็นขมและหอม ช่วยบำรุงปอด ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยในการขับถ่ายช่วยบำรุงฮอร์โมนของสตรีช่วยบำรุงตับและไต รากใช้เป็นยาดับพิษทั้งปวงช่วยทำให้รู้รสชาติของอาหารและช่วยดับพิษยา ดอกใช้เข้าเครื่องยาหอม
ที่มา:https://medthai.com/%E0%B8%82%E0%B8%88%E0%B8%A3/
ขจร หรือ สลิด ชื่อสามัญ : Cowslip creeper ชื่อวิทยาศาสตร์ : Telosma minor Craib ชื่อวงศ์ : ASCLEPIADACEAE รส : ดอกมีรสเย็นขมหอม ราก มีรสเย็นเบื่อ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ขจร (Cowslip creeper) เป็นไม้เลื้อยเถาเล็กแตกยอดจำนวนมาก ทุกส่วนของลำต้นมีน้ำยางขาว ใบเป็นใบเดี่ยวเรียง ตรงข้าม เป็น ใบคู่เป็นรูปหัวใจ กว้างและยาว 6 – 10 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบเว้า ขอบใบเรียบ มีช่อดอกสีเหลืองอมชมพู อ่อน ออก เป็นช่อแบบซี่ร่ม ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันส่วนปลายแยก 5 แฉกกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ปลายกลีบ แยก เป็น 5 แฉก ดอกบานไม่พร้อมกันดอกอ่อนสีเขียว เมื่อบานเริ่มหอมตั้งแต่ช่วงบ่าย ดอกออกมากตั้งแต่ต้นฤดูหนาว การปลูกและดูแลรักษา : ขจร เป็นไม้ที่ขึ้นได้ดีในดินทุกสภาพ แต่ถ้าจะให้ดีควรปลูกในดินร่วนปนทราย หรือดินที่มีความร่วนซุยมากๆ ขจรเป็นไม้ที่ชอบแดดจัดไม่ต้องการน้ำมากนัก และทนต่อสภาพความแห้งแล้งได้ดี ดังนั้นการรดน้ำให้รด 2 วันต่อครั้ง สรรพคุณทางยาดอกขจร : ยอดอ่อน ดอก ลูกอ่อน บำรุงธาตุ บำรุงตับ ปอด แก้เสมหะเป็นพิษ ราก ทำให้อาเจียน ถอนพิษเบื่อเมา ประโยชน์ทางอาหารดอกขจร : ยอดอ่อน ดอก ผลอ่อน รับประทานสดหรือลวกให้สุกรับประทานร่วมกับน้ำพริก ดอกนำไปปรุงอาหาร เช่น ผัด แกงจืด แกงส้ม ส่วนที่ใช้เป็นอาหารดอกขจร : ยอดอ่อน ดอกตูมและบาน ผลอ่อน ยอดอ่อนและดอกขจรในปริมาณ 100 กรัม มีวิตามิน แร่ธาตุต่างๆ คือวิตามินเอ มากถึง 3,150 I.U. วิตามินซี 45 มิลลิกรัม แคลเซียม 70 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 90 มิลลิกรัม
ลักษณะของขจร
ต้นขจร หรือ ต้นสลิด มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและอินเดีย โดยจัดเป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันกับต้นไม้ชนิดอื่น สามารถเลื้อยพันไปได้ไกลประมาณ 2-5 เมตร เถามีขนาดเล็ก ลักษณะกลมเหนียวมากและเป็นสีเขียว เมื่อแก่เถาขจรจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ตามยอดอ่อนมีขนสีขาวขึ้นปกคลุม แตกใบเป็นพุ่มแน่นและทึบ ทำให้บางครั้งพุ่มของของต้นขจรจะแผ่ปกคลุมต้นไม้อื่นได้มิดเลยทีเดียว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำและวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย ชอบแสงแดดจัด สามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยจะขึ้นได้ตามป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าละเมาะ ป่าเต็งรัง
สรรพคุณช่วยบำรุงโลหิต ช่วยรักษาโลหิตเป็นพิษ ช่วยบำรุงหัวใจ แก่นและเปลือกใช้เป็นยาบำรุงธาตุในร่างกาย ดอกและยอดใบอ่อนมีวิตามินสูง การรับประทานเป็นประจำจะช่วยบำรุงสายตาได้เป็นอย่างดี ยอดใบอ่อน ช่วยรักษาหวัดที่เกิดจากการตากลมหรือตากอากาศเย็น ช่วยบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน รากมีรสเบื่อเย็น ใช้รับประทานเพื่อให้เกิดอาการอาเจียน ช่วยถอนพิษยาเยื่อเบา รากนำมาฝนหยอดตาแก้ตาอักเสบ ตาแดง ตาแฉะ ตามัว บ้างว่านำมาใช้ผสมกับยาหยอดตาแล้วใช้หยอดตา ช่วยขับเสมหะ แก้เสมหะและโลหิต ดอกมีรสเย็นขมและหอม ช่วยบำรุงปอด ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยในการขับถ่ายช่วยบำรุงฮอร์โมนของสตรีช่วยบำรุงตับและไต รากใช้เป็นยาดับพิษทั้งปวงช่วยทำให้รู้รสชาติของอาหารและช่วยดับพิษยา ดอกใช้เข้าเครื่องยาหอม
ข้อควรระวัง ! : ลำต้นเป็นพิษต่อสุกร
ที่มา:https://medthai.com/%E0%B8%82%E0%B8%88%E0%B8%A3/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น