อีกทั้งยังถือเป็นไม้มงคลที่คนไทยแทบทุกคนเคยเกี่ยวข้องด้วย (ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม)
๔๗.ดอกรัก
รัก ชื่อสามัญ Crown flower, Giant Indian Milkweed Giant Milkweed, Tembegaจะเห็นได้ว่าชื่อสามัญจะเรียกกันตามลักษณะของดอกที่คล้ายมงกุฎ หรือลักษณะของน้ำยางสีขาวที่คล้ายน้ำนม และยังบอกอีกว่าเป็นพืชที่มาจากอินเดีย Calotropis gigantea (L.) Dryand. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Calotropis gigantea (L.) R. Br. ex Schult.) จัดอยู่ในวงศ์ตีนเป็ด ( และอยู่ในวงศ์ย่อยนมตำเลีย
ลักษณะของต้นรักต้นรัก จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กหรือเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง มีความสูงของต้นประมาณ 1-3 เมตร ลำต้นมีเนื้อไม้ แตกกิ่งก้านมากที่โคนต้น และจะแตกกิ่งก้านสาขาแผ่ออกทางด้นข้างพอ ๆ กับส่วนสูงของลำต้น เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือสีเทาคล้ายขี้เถ้า แตกเป็นร่องตามยาว กิ่งจะไม่มีเนื้อไม้ ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนละเอียดสีขาวปกคลุมอยู่หนาแน่น และทุกส่วนของต้นมียางสีขาวข้น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการปักชำ ต้นรักเป็นพืชที่ทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดี โดยเฉพาะในสภาพดินที่ไม่สมบูรณ์และมีความแห้งแล้ง เราจึงมักพบต้นรักขึ้นได้เองตามธรรมชาติทั่วไป ตามที่รกร้าง บริเวณข้างถนน ริมถนน ริมทางรถไฟ ริมคลอง และตามหมู่บ้าน โดยมีเขตการกระจายพันธุ์ตั้งแต่อินเดียไปจนถึงพม่า ไทย จีน คาบสมุทรมลายู ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และนิวกิน
สรรพคุณของต้นรักดอกมีรสเฝื่อน สรรพคุณช่วยทำให้เจริญอาหาร ต้นมีรสเฝื่อนขม มีสรรพคุณช่วยบำรุงทวารทั้งห้า ยางจากต้นเป็นยาแก้อาการปวดหู ปวดฟัน รากใช้เป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้เหนือ ช่วยแก้อาการไอ อาการหวัด แก้หอบหืด ช่วยทำให้อาเจียน ช่วยขับเหงื่อ เปลือกรากมีสรรพคุณช่วยขับเสมหะได้ ช่วยในการย่อย ใช้เป็นยารักษาโรคบิด แก้บิดมูกเลือด
ภาพดอกรัก
ที่มา:https://medthai.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น