ดอกไม้ไทย
ดอกดาหลาเป็นหนึ่งในดอกไม้ที่เราชอบถ่ายรูปมากๆ เพราะสีสดและดอกใหญ่ กลีบที่ซ้อนกันหลายๆ ชั้นทำให้รูปมีมิติ สีแดงสดของดอกตัดกับสีเขียวสดของใบทำให้ได้รูปที่สดใสดีจริงๆ
๑๓.ดอกดาหลา
ดอกดาหลาชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAEชื่อวิทยาศาสตร์ :Etlingera elatior(Jack) R.M.Sm.ชื่อพ้อง : Nicolaia elatior (Jack) R.M.Sm.ชื่อสามัญ : Torch gingerชื่อพื้นเมืองอื่น : กาหลา, ดาหลา (กรุงเทพฯ) ; กะลา (นครศรีธรรมราช)
ดาหลา ดอกไม้ขนาดใหญ่รูปทรงแปลกตา สีสดใส มีกลีบซ้อนกันหลายชั้น ดาหลาที่บ้านเราเป็นสีแดงสดปลูกอยู่ริมรั้วบริเวณที่มีแสงรำไร จะออกดอกตลอดปี และจะให้ดอกมากในฤดูร้อน เรามักจะปล่อยให้บานอยู่บนต้น ไม่ได้ตัดดอกมาใส่แจกัน พอดอกเหี่ยวถึงค่อยตัดทิ้งดาหลาเป็นไม้ล้มลุก มีลำต้นเป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน ส่วนลำต้นเหนือดินเป็นกาบใบที่โอบซ้อนกันแน่นเหมือนพืชจำพวกกล้วย ใบเป็นรูปหอกยาวเรียว ปลายใบแหลม สีเขียวเข้ม ดอกออกเป็นช่อ แทงก้านดอกจากเหง้าใต้ดิน กลีบประดับซ้อนกันหลายชั้น มีสีชมพูถึงแดงเข้ม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ไม้ล้มลุก สูงประมาณ 5 เมตร มีลำต้นใต้ดินเป็นเหง้าหัว ลำต้นเหนือพื้นดินเป็นกาบหุ้มรอบกันแน่น ทรงกระบอก แข็งใบ เป็นใบเดี่ยว ลักษณะใบรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก ปลายใบแหลม ใบกว้าง 20 ซม. ยาวประมาณ 50 ซม. สีเขียวเข้มและมันดอก ออกเป็นช่อเดี่ยวที่ปลายก้านซึ่งแทงขึ้นมาจากเหง้าใต้ดิน ก้านช่อดอกเป็นปล้องยาวประมาณ 1.5เมตร ดอกสีแดงอมชมพู หรือสีขาว กลีบดอกหนาเรียบเป็นมัน ซ้อนกันหลายชั้น โคนกลีบดอกเรียบเป็นมันสีแดง ปลายกลีบสีขาว กลีบนอกใหญ่ กลีบในเล็ก และลดขนาดลงเรื่อย ๆ จนถึงวงชั้นในปลายกลีบแบะออกมีจะงอยแหลม ออกดอกตลอดปี มีมากช่วงเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคมผล รูปกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-2.5 ซม. มีขนนุ่มนิเวศวิทยามีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนทั่วไป ชอบดินชุ่มชื้น ขึ้นตามป่าดิบชื้นทั่วไป นิยมปลูกกันตามบ้านเรือนเป็นไม้ประดับการปลูกและขยายพันธุ์การปลูกเพื่อการค้า นิยมปลูกเป็นแปลงเพื่อให้ได้ผลผลิตเต็มที่ ขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อหรือเหง้าหัวใต้ดิน เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน
รสและสรรพคุณในตำรายาหน่ออ่อนและดอกตูม รสเผ็ดเล็กน้อย นำมาต้มรับประทานกับน้ำพริก หรือแกงกะทิ แกงคั่ว ยำ หั่นฝอยผสมในข้าวยำซึ่งเป็นอาหารภาคใต้ นำกลีบดอกมาต้มแล้วชงเป็นเครื่องดื่ม ส่วนกากที่เหลือนำไปเคี่ยวกับน้ำตาลทำเป็นดอกดาหลากวน
ภาพดอกดาหลา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น