วันอาทิตย์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2560

จันทร์เทศ

ดอกไม้ไทย

น้ำมันลูกจันทน์และน้ำมันดอกจันทน์มีฤทธิ์ในการฆ่าลูกน้ำและตัวอ่อนของแมลงได้

๕๐.จันทร์เทศ
จันทน์เทศ ชื่อสามัญ Nutmegชื่อวิทยาศาสตร์ Myristica fragrans Houtt. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Myristica officinalis L. f., Myristica  จัดอยู่ในวงศ์จันทน์เทศ
ลักษณะของจันทน์เทศต้นจันทน์เทศ มีถิ่นกำเนิดในหมู่เกาะโมลุกกะ ประเทศอินโดนีเซียโดยจัดเป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 5-18 เมตร เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีเทาอมดำ เนื้อไม้สีนวลหอมเพราะมีน้ำมันหอมระเหย โดยต้นจันทน์เทศสามารถขึ้นได้ในดินเกือบทุกชนิด แต่ดินที่เหมาะกับการเจริญเติบโตคือดินร่วนปนทรายที่มีอินทรีย์วัตถุสูง โดยจะเจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อนชื้นโดยเฉพาะทางภาคตะวันออกและทางภาคใต้ของไทย สามารถขึ้นได้ในพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 900 เมตร และนิยมขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ในปัจจุบันพบว่ามีการปลูกทั่วไปในเขตเมืองร้อน ในประเทศไทยจะพบได้มากทางภาคใต้
สรรพคุณองจันทน์เทศดอกจันทน์  และลูกจันทน์  มีรสเผ็ดร้อนและมีกลิ่นหอม เป็นยาร้อนเล็กน้อย โดยออกฤทธิ์ต่อลำไส้และม้าม ใช้เป็นยาทำให้ธาตุและร่างกายอบอุ่น  ดอกจันทน์ ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย แก้ธาตุ ดอกจันทน์ ช่วยแก้ธาตุพิการส่วนตำรับยาจีนระบุว่าให้ใช้จันทน์เทศที่เป็นยาแห้ง 10 กรัม, เนื้อหมากแห้ง 10 กรัม, ดอกคังวู้ 15 กรัม นำมาบดเป็นผง แล้วทำเป็นยาลูกกลอนขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียว ใช้รับประทานครั้งละ 10-20 เม็ด วันละ 3 ครั้งลูกจันทน์ มีรสหอมออกฝาด เป็นยาบำรุงโลก ส่วนอีกตำราหนึ่งก็ระบุว่าดอกจันทน์ (รกหุ้มเมล็ด) ก็มีสรรพคุณบำรุงโลหิตเช่นกัน (ดอกจันทน์ ช่วยกระจายเลือดลม ดอกจันทน์  มีรสเผ็ดร้อน เป็นยาบำรุงกำลัง ส่วนอีกตำราหนึ่งก็ระบุว่าลูกจันทน์ ก็มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลังเช่นกัน ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยทำให้เจริญอาหาร แก้อาการเบื่ออาหาร บ้างระบุว่ารกหุ้มเมล็ดก็ช่วยทำให้เจริญอาหารเช่นกัน ลูกจันทน์ช่วยทำให้นอนหลับได้และนอนหลับสบาย ช่วยแก้อาการหอบหืด  ดอกจันทน์ 
ภาพดอกจันทร์เทศ
จันทน์เทศ

ที่มา:https://medthai.com

ดอกประยงค์

ดอกไม้ไทย

ดอกประยงค์แห้งสามารถนำมาใช้อบเสื้อผ้าให้มีกลิ่นหอม และใช้แต่งกลิ่นใบชาเช่นเดียวกับดอกมะลิ ซึ่งชาวจีนจะนิยมกันมาก

๔๙.ดอกประยงค์
ดอกประยงค์ ชื่อสามัญ Chinese rice flowerชื่อวิทยาศาสตร์ Aglaia odorata Lour. จัดอยู่ในวงศ์กระท้อน 
ลักษณะของประยงค์ต้นประยงค์ มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยพบได้ทั่วไปตามป่าเบญจพรรณ โดยจัดเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ทรงพุ่มทึบค่อนข้างกลม มีความสูงของต้นประมาณ 2-3 เมตรและสูงไม่เกิน 5 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านตั้งแต่โคนต้น เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีเทา ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่ง และวิธีการเพาะเมล็ด ขึ้นได้ดีในทุกสภาพดินฟ้าอากาศ ทนความแห้งแล้งได้ดีมาก แต่ควรปลูกในพื้นที่ที่มีแสงแดดตลอดทั้งวัน เพราะจะช่วยทำให้มีทรงพุ่มสวยงาม
สรรพคุณของประยงค์ในประเทศฟิลิปปินส์จะใช้รากและใบนำมาต้มเป็นยาบำรุงร่างกาย ช่วยทำให้เจริญอาหาร แก้ผอมแห้งแรงน้อย ดอกมีรสเฝื่อนขมเล็กน้อย ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ ทำให้หูตาสว่าง จิตใจปลอดโปร่ง แก้อาการเมาค้าง รากมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ ดอกช่วยดับร้อน แก้อาการกระหายน้ำ ยาชงจากดอกใช้ดื่มแบบน้ำชาจะเป็นยาเย็น สรรพคุณเป็นยาแก้ไข้พุพอง ช่วยแก้อาการไอ  แก้ไอหืด รากช่วยแก้เลือด แก้กำเดา รากมีรสเฝื่อนเย็น ใช้รับประทานเป็นยาทำให้อาเจียน ช่วยแก้อาเจียนเป็นเลือด ใช้เป็นยากวาดเด็ก แก้เสมหะด่าง 
ภาพดอกประยงค์
ประยงค์

ที่มา:https://medthai.com

ดอกดาวเรือง

ดอกไม้ไทย

ปัจจุบันนี้ทุกบ้านจะต้องปลูกดอกดาวเรืองเพื่อที่จะมอบไห้แก่นายหลวง ร ๙

๔๘.ดาวเรือง
ดาวเรือง ชื่อสามัญ African marigold, American marigold, Aztec marigold, Big marigold ชื่อวิทยาศาสตร์ Tagetes erecta L. จัดอยู่ในวงศ์ทานตะวัน 
ลักษณะของดาวเรืองต้นดาวเรือง เป็นพันธุ์ไม้พื้นเมืองของประเทศเม็กซิโดยจัดเป็นไม้ล้มลุก มีอายุได้ราว 1 ปี ลำต้นตั้งตรงมีความสูงประมาณ 60-100 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านมากที่โคนต้น ลำต้นเป็นสีเขียวและเป็นร่อง ทั้งต้นเมื่อนำมาขยี้จะมีกลิ่นเหม็น จึงทำให้แมลงไม่ค่อยมารบกวน โดยจัดเป็นพันธุ์ไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดเป็นหลัก  เจริญเติบโตได้เร็ว ชอบดินร่วน ระบายน้ำได้ดี มีความชื้นปานกลาง และชอบแสงแดดแบบเต็มวันโดยแหล่งเพาะปลูกดาวเรืองที่สำคัญของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดลำปาง พะเยา ราชบุรี นนทบุรี สุพรรณบุรี สมุทรสาคร อุดรธานี และกรุงเทพฯ เป็นต้น โดยดาวเรืองที่พบเห็นและปลูกกันมากในปัจจุบันจะมีอยู่ 5 ชนิด ได้แก่ ดาวเรืองอเมริกัน (Tagetes erecta), ดาวเรืองฝรั่งเศส (Tagetes patula), ดาวเรืองนักเก็ต (Triploid Marigold), ดาวเรืองซิกเน็ต (Tagetes tenuifolia หรือ Tagetes signata pumila) และดาวเรืองใบ (Tagetes 

สรรพคุณของดาวเรืองดอกและรากมีรสขมเผ็ดเล็กน้อย มีฤทธิ์เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อปอดและตับ ดอกใช้เป็นยาฟอกเลือด ในอินเดียจะใช้น้ำคั้นจากช่อดอกเป็นยาฟอกเลือด ใช้ใบแห้งประมาณ 5-10 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้เด็กเป็นตานขโมย ช่วยแก้อาการเวียนศีรษะ ด้วยการใช้ดอกประมาณ 3-10 กรัม ต้มกับน้ำดื่ม ดอกช่วยบำรุงสายและถนอมสายตาได้ดี ในตำรายาจีนจะนำดอกมาปรุงกับตับไก่ใช้กินเป็นยาบำรุงสายตาได้ดี ช่วยแก้ตาเจ็บ ตาบวม ตาแดง ปวดตา ด้วยการใช้ดอกแห้งประมาณ 10-15 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน ดอกใช้รักษาคางทูม ด้วยการใช้ดอกประมาณ 3-10 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม  ส่วนตำรายาจีนจะใช้ดอกแห้ง ดอกสายน้ำผึ้ง เต่งเล้า อย่างละเท่ากัน นำมาบดรวมกันเป็นผง ผสมกับน้ำส้มสายชูคนให้เข้ากัน แล้วนำมาใช้พอกบริเวณที่เป็น ดอกใช้เป็นยาแก้ไข้สูงในเด็กที่มีอาการชักช่วยแก้อาการร้อนใน ช่วยแก้อาการไอหวัด ไอกรน ไอเรื้อรัง ด้วยการใช้ดอกสดประมาณ 10-15 ดอก นำมาต้มกับน้ำผสมกับน้ำตาลรับประทาน
                                                                    ภาพดอกดาวเรือง

ดาวเรือง

ที่มา:https://medthai.com

ดอกรัก


ดอกไม้ไทย

อีกทั้งยังถือเป็นไม้มงคลที่คนไทยแทบทุกคนเคยเกี่ยวข้องด้วย (ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม)

๔๗.ดอกรัก
รัก ชื่อสามัญ Crown flower, Giant Indian Milkweed Giant Milkweed, Tembegaจะเห็นได้ว่าชื่อสามัญจะเรียกกันตามลักษณะของดอกที่คล้ายมงกุฎ หรือลักษณะของน้ำยางสีขาวที่คล้ายน้ำนม และยังบอกอีกว่าเป็นพืชที่มาจากอินเดีย Calotropis gigantea (L.) Dryand. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Calotropis gigantea (L.) R. Br. ex Schult.) จัดอยู่ในวงศ์ตีนเป็ด ( และอยู่ในวงศ์ย่อยนมตำเลีย 
ลักษณะของต้นรักต้นรัก จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กหรือเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง มีความสูงของต้นประมาณ 1-3 เมตร ลำต้นมีเนื้อไม้ แตกกิ่งก้านมากที่โคนต้น และจะแตกกิ่งก้านสาขาแผ่ออกทางด้นข้างพอ ๆ กับส่วนสูงของลำต้น เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือสีเทาคล้ายขี้เถ้า แตกเป็นร่องตามยาว กิ่งจะไม่มีเนื้อไม้ ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนละเอียดสีขาวปกคลุมอยู่หนาแน่น และทุกส่วนของต้นมียางสีขาวข้น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการปักชำ ต้นรักเป็นพืชที่ทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดี โดยเฉพาะในสภาพดินที่ไม่สมบูรณ์และมีความแห้งแล้ง เราจึงมักพบต้นรักขึ้นได้เองตามธรรมชาติทั่วไป ตามที่รกร้าง บริเวณข้างถนน ริมถนน ริมทางรถไฟ ริมคลอง และตามหมู่บ้าน โดยมีเขตการกระจายพันธุ์ตั้งแต่อินเดียไปจนถึงพม่า ไทย จีน คาบสมุทรมลายู ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และนิวกิน
สรรพคุณของต้นรักดอกมีรสเฝื่อน สรรพคุณช่วยทำให้เจริญอาหาร ต้นมีรสเฝื่อนขม มีสรรพคุณช่วยบำรุงทวารทั้งห้า ยางจากต้นเป็นยาแก้อาการปวดหู ปวดฟัน รากใช้เป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้เหนือ ช่วยแก้อาการไอ อาการหวัด แก้หอบหืด ช่วยทำให้อาเจียน ช่วยขับเหงื่อ เปลือกรากมีสรรพคุณช่วยขับเสมหะได้ ช่วยในการย่อย ใช้เป็นยารักษาโรคบิด  แก้บิดมูกเลือด



ภาพดอกรัก

รัก

ที่มา:https://medthai.com

ดอกเล็บมือนาง

ดอกไม้ไทย

ในเมล็ดเล็บมือนางมีพิษ ห้ามรับประทานมากเกินกว่าปริมาณที่กำหนด หากได้รับพิษจะทำให้มีอาการสะอึก อาเจียน วิงเวียนศีรษะ มึนงง อ่อนเพลีย และมีอาการถ่าย


๔๖.เล็บมือนาง
เล็บมือนาง ชื่อสามัญ Rangoon Creeper, Chinese honey Suckle, Drunen sailorเล็บมือนาง ชื่อวิทยาศาสตร์ Combretum indicum (L.) DeFilipps (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Quisqualis indica L.) จัดอยู่ในวงศ์สมอ สมุนไพรเล็บมือนาง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า อ้อยช้าง (อุตรดิตถ์), แสมแดง (ชุมพร), เล็บนาว (สตูล), มะจีมั่ง จ๊ามัง จะมั่ง (ภาคเหนือ), นิ้วมือพระนารายณ์ (ใต้), ไท้หม่อง (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), วะดอนิ่ง อะดอนิ่ง (มะลายู-ยะลา), เล็บมือนางต้น เป็นต้น
ลักษณะของเล็บมือนางต้นเล็บมือนาง มีถิ่นกำเนิดในเอเชียเขตร้อนทั่วไป โดยจัดเป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งขนาดกลาง เลื้อยพาดพันไปกับต้นไม้อื่น ยาวได้ประมาณ 5-7 เมตร และอาจเลื้อยไปได้ไกลมากกว่า 10 เมตร แตกกิ่งก้านสาขาเป็นพุ่มหนาทึบ เถาอ่อนเป็นสีเขียว ตามลำต้นและเถาอ่อนมีขนสีเหลือหรือสีน้ำตาลอมเทาปกคลุมอยู่ แต่ต้นแก่ผิวจะเกลี้ยง โดยเถาแก่เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลปนแดง เปลือกค่อนข้างเรียบ หรือมีหนามเล็กน้อย ต้องหาหลักยึดหรือร้านให้ลำเถามีที่เกาะยึด ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด การตอนกิ่ง หรือเอาเง้าไปปลูกก็ได้ แต่ต้องฝักให้ลึกประมาณ 4 นิ้ว เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ชอบแสงแดดแบบเต็มวัน ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง เจริญเติบโตได้ดีในดินปนทรายหรือดินร่วนปนทรายที่ระบายน้ำดี เติบโตได้เร็ว และจะเลื้อยขึ้นเป็นพุ่มตามร้านที่เตรียมไว้ให้
สรรพคุณของเล็บมือนางรากและใบมีรสเมาเบื่อ เป็นยาสุขุม ส่วนเมล็ดมีรสชุ่มเป็นยาร้อน สรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุ ช่วยทำให้เจริญอาหาร ทั้งต้นมีสรรพคุณช่วยแก้ตานขโมยพุงโร (หรือจะใช้รากผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ จะมีสรรพคุณเป็นยาแก้ตานขโมย แก้เด็กเป็นซาง แก้ซางแห้ง แก้ธาตุวิปริต แก้อุจจาระพิการ แก้ตับทรุด และช่วยทำให้เจริญอาหาร รากและใบใช้เป็นยาแก้ตานซางในเด็กส่วนเมล็ดเป็นยาแก้ตานซาง ตานขโมยในเด็ก ใบหากนำไปผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะเป็นยาแก้ตัวร้อน และแก้อาการปวดศีรษะ ใบใช้ตำพอกแก้อาการปวดศีรษะ ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ เป็นยาแก้ไข้ ช่วยแก้อาการไอ ผลใช้รับประทานแล้วจะทำให้สะอึก
ภาพดอกเล็บมือนาง
เล็บมือนาง



ที่มา:https://medthai.com

ดอกปีบ

อกไม้ไทย

มานำดอกไม้ที่หอมมากคือดอกปีบคนแก่มักจะนำดอกปีบมาเสียบทัดที่ใบหนูเพื่อนจะได้มีกลิ่นหอ

๔๕.ดอกปีบ
ปีบ ชื่อสามัญ Cork tree, Indian cork ชื่อวิทยาศาสตร์ Millingtonia hortensis L.f. จัดอยู่ในวงศ์แคหางค่างต้นปีบ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น เต็กตองโพ่ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), กาซะลอง กาสะลอง กาดสะลอง กาสะลองคำ (ภาคเหนือ), ปีบ ก้องกลางดง (ภาคกลาง) กางของ (ภาคอีสาน) เป็นต้น
ลักษณะของปีบ เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ลำต้นตรง มีความสูงประมาณ 5-10 เมตร เปลือกต้นเป็นสีเทาเข้มแตกเป็นร่องลึก มีช่องอากาศ รากเกิดเป็นหน่อ เจริญเป็นต้นใหม่ได้ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการนำเมล็ดมาเพาะ หรือใช้ต้นอ่อนที่เกิดจากรากรอบ ๆ ของต้นแม่ นำมาตัดเป็นท่อนสั้น ๆ แล้วนำมาปักชำในกระบะกรวยที่ผสมด้วยขี้เถ้าแกลบก็ได้ ปีบเป็นพันธุ์ไม้พื้นเมืองของพม่าและไทยที่ขึ้นกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปตามป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้งทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก และทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สรรพคุณของปีบดอกมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง ช่วยบำรุงโลหิต รากช่วยบำรุงปอด ช่วยรักษาวัณโรค ใช้เป็นยารักษาไซนัสอักเสบ ช่วยรักษาริดสีดวงจมูก ด้วยการใช้ดอกที่ตากแห้งแล้วนำมามวนเป็นบุหรี่สูบเพื่อรักษาอาการ ช่วยรักษาอาการหอบหืด หอบเหนื่อย ทำให้ระบบการหายใจดียิ่งขึ้นด้วยการใช้ดอกปีบแห้งประมาณ 6-7 ดอก แล้วมวนเป็นบุหรี่สูบ เพื่อรักษาอาการหอบหืดได้ ช่วยรักษาปอดพิการ ใช้เป็นยาแก้ลม ใบใช้มวนเป็นบุหรี่สูบแทนฝิ่น เพื่อช่วยขยายหลอดลมและรักษาอาการหอบหืดได้เช่นกัน 
ภาพดอกปีบ

ปีบ


ที่มา:https://medthai.com

ดอกพุดตาน

ดอกไม้ไทย

ดอกพุดตานมีสารฟลาโวนอยด์ ไกลโคไซด์ (Flavonoid glycosides) ซึ่งเป็นสารที่ต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกายได้เป็นอย่างดี

๔๔.ดอกพุดตาน
พุดตาน ชื่อสามัญ Cotton rose, Cotton rose hibiscus, Confederate rose, Confederate rose mallow, Dixie พุดตาน ชื่อวิทยาศาสตร์ Hibiscus mutabilis L. จัดอยู่ในวงศ์ชบาสมุนไพรพุดตาน มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ดอกสามสี สามผิว (ภาคเหนือ) เป็นต้น


ลักษณะของพุดตานต้นพุดตาน มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศจีน ชาวจีนเชื่อว่าต้นพุดตานเป็นไม้มงคล เพราะดอกพุดตานสามารถเปลี่ยนสีได้ถึง 3 สีภายในวันเดียว เปรียบเสมือนของชีวิตคนที่เริ่มต้นเหมือนเด็กที่เป็นผ้าขาว แล้วค่อย ๆ เจริญเติบโตพร้อมกับสีสันที่แต่งแต้มขึ้นมา เมื่ออายุมากขึ้นก็พร้อมที่จะเปลี่ยนสีเป็นสีเข้มจนกระทั่งได้ร่วงโรยลงไป เชื่อว่าต้นพุดตานนี้ได้มีการนำเข้ามาปลูกในประเทศไทยในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นช่วงค้าขายกับชาวจีน โดยจัดเป็นพรรณไม้พุ่มที่มีความสูงประมาณ 5 เมตร ต้นและกิ่งมีขนสีเทา ต้นพุดตานชอบอยู่กลางแจ้ง ชอบแสงแดดจัด ๆ ไม่ชอบที่มีน้ำขังหรือที่แฉะ เจริญเติบโตได้ดีในที่ดอน มีดินร่วนซุย ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่งและวิธีการปักชำ

สรรพคุณของพุดตานดอกพุดตานมีรสฉุนและสุขุม สรรพคุณช่วยแก้อาการไอ อาเจียนเป็นเลือด มีระดูขาว (ดอก)รากช่วยแก้อาการไอหอบ มีระดูขาว (ราก)ใบช่วยแก้อาการตาแดงบวม (ใบ)ใช้เป็นยารักษาคางทูม ด้วยการใช้ใบแห้งประมาณ 10-15 ใบ นำมาบดให้ละเอียดแล้วเติมไข่ขาวลงไปผสมให้เข้ากัน เพื่อให้ยาจับกันเป็นแผ่น แล้วนำมาพอกปิดบริเวณที่บวมเป็นคางทูม โดยให้เปลี่ยนยาวันละ 2 ครั้ง จนกว่าจะหายบวม หรืออีกวิธีจะใช้ดอกพุดตานแห้งก็ได้ โดยใช้ประมาณ 3-12 กรัม และใบสดประมาณ 30-40 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทานแก้อาการ หรือจะใช้ทาภายนอกด้วยการนำมาบดเป็นผงผสมหรือใช้แบบสด ๆ นำมาตำแล้วพอกก็ได้ (ใบ, ดอก)ใช้เป็นยารักษาแก้งูสวัด โดยใช้ใบสดล้างน้ำสะอาดประมาณ 4-5 ใบ นำมาตำให้ละเอียด แล้วเติมน้ำซาวข้าวลงไป แล้วนำมาใช้ทาบริเวณที่เป็นบ่อย ๆ หรืออีกวิธีก็คือการใช้รากพุดตานสดนำมาตำแล้วพอก หรือจะนำรากแห้งมาบดให้เป็นผงผสมแล้วใช้พอกก็ได้รากนำมาต้มน้ำกินหรือนำมาฝนใช้ทา ใช้เป็นยารักษาโรคผื่นคันตามผิวหนัง อาการปวดแสบปร้อนตามร่างกาย และรักษาอาการประดงได้ รากพุดตานช่วยแก้ฝีบวม ฝีฝักบัว ฝีหัวแก่ได้ ด้วยการใช้รากแห้งประมาณ 30 กรัม นำมาต้มกับน้ำดินแก้อาการ ช่วยแก้ผดผื่นคันที่เกิดจากความชื้น ด้วยการใช้ก้านและใบสดปริมาณพอสมควรนำมาต้มเอาน้ำ ใช้ชะล้างบริเวณที่เป็น ใบและดอกพุดตานใช้เป็นยาถอนพิษ แก้พิษบวม รักษาแผลมีหนอง แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ด้วยการใช้ใบสดล้างน้ำสะอาดประมาณ 3-4 ใบ นำมาตำให้ละเอียดแล้วผสมเข้ากับน้ำมันพืช แล้วนำมาใช้ทาบริเวณแผล หรือจะใช้ใบแห้งผสมกับน้ำผึ้งแล้วใช้ทาแทนก็ได้ ช่วยรักษาแผลเน่าเปื่อยต่าง ๆ ด้วยการใช้รากแห้งประมาณ 30 กรัม นำมาต้มกับน้ำกิน


ภาพดอกพุตตาน
พุดตาน


ที่มา:https://medthai.com

ดอกตะแบก

ดอกไม้ไทย

มีความเชื่อว่าเป็นไม้ที่ช่วยค้ำจุนครอบครัวให้ร่มเย็นเป็นสุข ดั่งคำเรียกว่า ตะแบก คือ การแบกรับไม่ให้ตกต่ำ
๔๓.ดอกตะแบก
ดอกตะแบก วงศ์ : Lythraceaeชื่อวิทยาศาสตร์ : Lagerstroemia calyculata Kurz.ชื่อท้องถิ่นไทย :

ตะแบก จัดเป็นไม้ยืนต้นประเภทผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีลำต้นความสูงประมาณ 15-30 เมตร ลำต้นแตกกิ่งแขนงบนเรือนยอด มีทรงพุ่มเป็นรูประฆัง กิ่งแขนงมีปานกลาง แต่มีใบใหญ่ และดก ทำให้แลเป็นทรงพุ่มหนา โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน โคนลำต้นของต้นที่โตเต็มที่มีลักษณะค่อนข้างเป็นพูพอน และเป็นร่องลึกล้อมรอบลำต้น ซึ่งเป็นร่องยาวสูงจนถึงประมาณกลางลำต้น ส่วนลำต้นส่วนปลายไม่เกิดเป็นร่อง เปลือกลำต้นค่อนข้างบาง มีสีขาวอมเหลือง และเป็นหลุมตื้นๆกระจายทั่ว ซึ่งเกิดจากผิวด้านนอกแตกสะเก็ดหลุดออก แต่ผิวลำต้นเรียบเนียน และสากมือบริเวณขอบหลุม เปลือกลำต้นชั้นในเป็นสีแดงม่วง ส่วนกิ่งแขนงย่อยมีขนาดเล็ก มีลักษณะเป็นเหลี่ยม สีน้ำตาล


สรรพคุณ
ดอก (ต้มดื่ม) แก้ท้องเสีย ช่วยบำรุงเลือด บำรุงร่างกาย ช่วยรักษาบาดแผล ช่วยห้ามเลือด แก้โรคผิวหนัง รักษาผดผื่นคัน บรรเทาอาการไข้หวัด แก้มูกเลือด ช่วยบรรเทาอาการท้องเสีย ท้องร่วง แก้โรคบิด ช่วยแก้พิษ แก้ลงแดง แก้พิษสารเสพติด รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อจากเชื้อรา รักษาผดผื่นคัน แก้อาการปวดเมื่อยร่างกาย ช่วยบำรุงหัวใจ บำรุงปอด บำรุงตับ ใช้เป็นยาแก้วิงเวียนศรีษะ หน้ามืด ตาลาย ช่วยแก้พิษไข้ ช่วยขับเสมหะ

ภาพดอกตะแบก


ที่มา:https://medthai.com


ดอกมะลิ

ดอกไม้ไทย
วันนี้เรามานำเสนอดอกมะลิซึ่งทุกคนต้องรู้จักดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมและยังมีสีขาวบริสุทธิ์ คนไทยนิยมยกย่องดอกมะลิให้เป็นดอกไม้ของวันแม่แห่งชาติ

๔๑.ดอกมะลิ
มะลิ ชื่อสามัญ Arabian jasmine, Seented star jusmine, Jusmine, Kampopot                    ชื่อวิทยาศาสตร์ Jasminum sambac (L.) Aiton จัดอยู่ในวงศ์มะลิ
ลักษณะของต้นมะลิ ต้นมะลิ มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในแถบประเทศเอเชีย เช่น อินเดีย คาบสมุทรอาระเบียโดยจัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เป็นทรงพุ่ม มีใบแน่น มีความสูงประมาณ 5 ฟุต แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบ ๆ ลำต้น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ (ในช่วงฤดูฝนเป็นวิธีการที่ดีที่สุด) และการตอนกิ่งเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย และเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่ชอบแสงแดดจัด การให้น้ำมากเกินไปจะทำให้ออกดอกน้อยลง และการตัดแต่งใบภายหลังการออกดอกชุดใหญ่จะทำให้การออกดอกดีขึ้น 
สรรพคุณของมะลิดอกมะลิมีรสหอมเย็น มีสรรพคุณบำรุงหัวใจ ทำให้ชื่นใจ จิตใจชุมชื่น แก้อาการอ่อนเพลีย ชูกำลัง ชาวโอรังอัสลี ในรัฐเประ ประเทศมาเลเซีย จะใช้รากนำไปต้มแล้วดื่มน้ำเป็นยาแก้เบาหวานหากมีอาการนอนไม่หลับ ให้ใช้รากแห้งประมาณ 1-1.5 กรัมนำมาฝนกับน้ำรับประทาน ดอกสดนำมาตำให้ละเอียดใช้พอกขมับ จะช่วยแก้อาการปวดศีรษะได้ หรือจะใช้รากสดประมาณ 1-1.5 กรัมนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ปวดศีรษะก็ไดช่วยแก้เจ็บตา รากสดใช้ทำเป็นยาล้างตาแก้เยื่อตาอักเสบ ใบและรากใช้ทำเป็นยาหยอดตา  บ้างว่าใช้ดอกมะลิสดที่ล้างน้ำสะอาด นำมาต้มกับน้ำจนเดือดสักครู่ แล้วนำน้ำที่ได้มาใช้ล้างตาแก้ตาแดง เยื่อตาขาวอักเสบ ช่วยแก้อาการเจ็บหู ช่วยแก้อาการปวดฟัน ด้วยการใช้รากสดนำมาทุบให้แหลกคั่วกับเหล้าจนร้อน ใช้พอกบริเวณที่ปวด หากปวดฟันผุ ให้ใช้รากมะลิตากแห้งนำมาบดให้เป็นผง ผสมกับไข่แดงที่ต้มสุกแล้วจนได้ยาที่เหนียวข้น ใช้ใส่ในรูฟันผุ ดอกและใบมีรสเผ็ดชุ่ม เป็นยาเย็น ช่วยดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ ใช้เป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ ขับเหงื่อขับความชื้น แก้ไข้หวัดแดด  รากใช้ฝนกับน้ำเป็นยาแก้ร้อนใน ใช้ใบสดประมาณ 3-6 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาแก้ไข้
ภาพดอกมะลิ
มะลิ


ที่มา:https://medthai.com

ดอกแก้ว

ดอกไม้ไทย

คนไทยโบราณมีความเชื่อว่าหากบ้านใดปลูกต้นแก้วไว้เป็นไม้ประจำบ้าน จะทำให้คนในบ้านมีแต่ความดีและมีคุณค่า เนื่องจากคำว่า “แก้ว” นั้นมีความหมายว่า สิ่งที่ดีและมีคุณค่า เป็นที่นับถือของคนทั่วไป เพราะคนโบราณได้เปรียบเทียบของที่มีค่าสูงนี้เหมือนดั่งดวงแก้ว

๔๐.ดอกแก้ว
แก้ว ชื่อสามัญ Andaman satinwood, Chanese box tree, Cosmetic bark tree, Orange jasmine, Orange jessamine, Satin wood
อวิทยาศาสตร์ Murraya paniculata (L.) Jack  (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Murraya exotica L.) จัดอยู่ในวงศ์ส้ม 
ลักษณะของต้นแก้วต้นแก้ว เป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศจีน และในออสเตรเลียในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาคในป่าดิบแล้งจากที่ราบสูงจนถึงที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 400 เมตรโดยจัดเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 5-10 เมตร ต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกลมแน่นทึบ เปลือกลำต้นเป็นสีเทาแตกเป็นร่อง ๆ เนื้อไม้สีขาวนวล เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนที่ระบายน้ำได้ดี ชอบแสงแดดเต็มวัน-รำไร และความชื้นปานกลาง-ต่ำ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการตอบ

สรรพคุณของต้นแก้วใบมีรสร้อนเผ็ดและขม ช่วยบำรุงธาตุในร่างกายช่วยคลายการอุดตันของเส้นเลือด ทำให้การไหลเวียนของเลือดลมเป็นไปได้ดีขึ้น ]ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ ช่วยแก้อาการไอ ราก ก้าน และใบสดสามารถนำมาใช้เป็นยาชาระงับอาการปวดได้ จึงมีการนำมาใช้เป็นยาแก้อาการปวดฟันและปวดกระเพาะ  บ้างก็ว่าก้านและใบสดมีรสเผ็ดร้อนขม นำมาต้มใช้เป็นยาอมบ้วนปากแก้อาการปวดฟันได้เช่นกัน รากใช้เป็นยาแก้ฝีฝักบัวที่เต้านม รากใช้เป็นยาช่วยขับลมชื้นในร่างกาย แต่ต้องนำไปใช้ร่วมกับตำราแพทย์แผนไทยหรือแพทย์แผนจีน ใบช่วยแก้ท้องเสีย ช่วยแก้บิด ใบช่วยขับลม แก้อาการจุกเสียดแน่นเฟ้อ 
ภาพดอกแก้ว
แก้ว

ที่มา:https://medthai.com

ดอกจำปา

ดอกไม้ไทย

วันนี้เราไปดูวาดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมทุกคนต่างชื่นชอบมี่สรรพคุณอะไรบ้าง

๔๐.ดอกจำปา
ดอกจำปาจำปา ชื่อสามัญChampaca, Champak, Orange chempaka, Golden champa, Sonchampaชื่อวิทยาศาสตร์ Magnolia champaca (L.) Baill. ex Pierre (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Michelia champaca L.) จัดอยู่ในวงศ์จำปา 
ลักษณะของจำปาต้นจำปา มีถิ่นกำเนิดทางตอนใต้ของจีน ไทย อินเดีย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นตรง มีความสูงประมาณ 15-30 เมตร ลักษณะเป็นทรงพุ่มโปร่งเป็นรูปกรวยคว่ำ ค่อนข้างโปร่ง แตกกิ่งจำนวนมากที่ยอด ที่เปลือกมีสีเทาอมขาวและมีกลิ่นฉุน โดยต้นจำปาจะขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การทาบกิ่ง และการตอนกิ่ง
สรรพคุณของจำปา ช่วยบำรุงธาตุจำปามีสรรพคุณช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยบำรุงประสาท ช่วยกระจายโลหิต ดอกจำปามีสรรพคุณช่วยบำรุงโลหิต ช่วยทำให้เลือดเย็น ช่วยแก้โรคเส้นประสาทพิการ ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย หน้ามืดตาลาย ช่วยแก้คลื่นเหียน ช่วยแก้อาการไข้ ช่วยแก้ไข้อภิญญาณ ช่วยแก้พิษสำแลง ช่วยระงับอาการไอ ช่วยแก้อาการคอแห้ง ช่วยแก้อาการตาบวม ช่วยขับเสมหะ ช่วยทำให้เสมหะในลำคอเกิด ช่วยแก้ป่วงของทารก เปลือกรากใช้เป็นยาถ่าย ใบนำมาตำคั้นเอาแต่น้ำ ใช้รักษาโรคลำไส้ใหญ่อักเสบได้ ช่วยขับลม ช่วยขับพยาธิ ช่วยขับปัสสาวะ ยางช่วยแก้ริดสีดวงทวาร ช่วยบำรุงน้ำดี ช่วยแก้โรคไต ช่วยฝาดสมาน ช่วยถอนพิษสำแดง ช่วยรักษาแผลที่เท้าและอาการเท้าแตก เปลือกหุ้มรากและรากแห้ง ใช้ผสมกับนมสำหรับบ่มฝีช่วยรักษาโรคเรื้อน ช่วยรักษาโรคปวดตามข้อ ช่วยระงับอาการเกร็ง รากช่วยขับเลือดเน่าเสีย ช่วยบำรุงประจำเดือนของสตรี ช่วยทำให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ ช่วยขับโลหิตในสตรีที่อยู่ในเรือนไฟให้ตก 

ภาพดอกจำปา
ดอกจำปา

ที่มา:https://medthai.com

ดอกลำดวน

ดอกไม้ไทย

วันนี้มาเสนอดอกไม้พระราชทานไห้เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดสีสะเกษของเราด้วย

๓๘.ดอกลำดวน
ลำดวนชื่อสามัญWhite cheesewood, Devil tree, Lamdmanลำดวน ชื่อวิทยาศาสตร์ Melodorum fruticosum Lour. จัดอยู่ในวงศ์กระดังงา 
ลักษณะของลำดวนต้นลำดวน หรือ ต้นหอมนวล มีแหล่งกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[7] จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กไม่ผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 10-15 เมตร ลำต้นตรง แตกกิ่งใบจำนวนมาก เรือนยอดเป็นพุ่มกลมหรือเป็นพุ่มเป็นรูปกรวยคว่ำ เปลือกต้นเรียบเป็นสีเทา เมื่อลำต้นแก่เปลือกต้นจะเป็นสีน้ำตาลอมดำ มีรอยแตกตามแนวยาวของลำต้น ส่วนกิ่งอ่อนเป็นสีเขียวสด ยอดอ่อนและใบอ่อนเป็นสีแดง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการตอนกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย ชอบความชื้นสูง และแสงแดดแบบเต็มวันถึงครึ่งวัน ชอบขึ้นในที่โล่งและมีแสงแดด พบได้ตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้งทางภาคตะวันออก และภาคกลาง
สรรพคุณของลำดวนดอกแห้งมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง ดอกแห้งเป็นยาบำรุงโลหิต ช่วยบำรุงหัดอกใช้เป็นยาแก้ลมวิงเวียน ใช้เป็นยาแก้ไข้ ช่วยแก้อาการไอ (ดอกลำดวนแห้งจัดอยู่ใน “พิกัดเกสรทั้งเก้า” (ประกอบด้วย เกสรดอกบัวหลวง ดอกกระดังงา ดอกจำปา ดอกพิกุล ดอกบุนนาค ดอกมะลิ ดอกสารภี ดอกลำเจียก และดอกลําดวน) ซึ่งเป็นตำรับยาแก้ไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ ช่วยชูกำลัง แก้อาการอ่อนเหลีบ ช่วยบำรุงหัว แก้พิษโลหิต แก้ลม 
ภาพดอกลำดวน
 ดอกลำดวน

ที่มา:https://medthai.com

กัลปพฤกษ์

ดอกไม้ไทย

ดอกกัลปพฤกษ์เป็นดอกไม้ที่สวยและเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดขอนแก่นอีกด้วย
๓๘.กัลปพฤกษ์
กัลปพฤกษ์ ชื่อสามัญ Wishing Tree, Pink Shower, Pink cassia, Pink and White Shower Treeกัลปพฤกษ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassia bakeriana Craib (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Cassia bakerana Craib) จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว ( และอยู่ในวงศ์ย่อยราชพฤกษ์ 
ลักษณะของกัลปพฤกษ์ต้นกัลปพฤกษ์ จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงได้ประมาณ 5-15 เมตร มีความสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 12 เมตร เรือนยอดแผ่กว้าง แต่ไม่หนาแน่นทึบ แตกกิ่งต่ำและทอดกิ่งยาวขึ้นสู่ด้านบน เปลือกต้นด้านนอกเรียบเป็นสีเทา ส่วนเนื้อไม้เป็นสีเหลืองถึงสีน้ำตาล บริเวณยอดและกิ่งอ่อนมีขนอ่อนขึ้นปกคลุมหนาแน่น นิยมขยายพันธุ์ด้วยวิธีการนำเมล็ดมาเพาะเป็นต้นกล้า ขึ้นได้ในดินทั่วไป สามารถขึ้นได้ในพื้นที่ที่ดินไม่ค่อยสมบูรณ์ ชอบความชื้นปานกลาง แสงแดดแบบเต็มวัน พรรณไม้ชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดในแถบประเทศพม่า ไทย ลาว เขมร เวียดนาม ในประเทศไทยพบขึ้นได้ตามป่าแดง ป่าโคก ป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณแล้งทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั่วไป (บางครั้งพบอยู่บนเทือกเขาหินปูนที่แห้งแล้ง) ที่ระดับความสูงประมาณ 300-1,000 เมตร
สรรพคุณของกัลปพฤกษ์เปลือกฝักและเมล็ดมีรสขมเอียน ใช้เป็นยาลด ถ่ายพิษไข้ได้ดี เนื้อในฝักใช้แก้คูถ แก้เสมหะ ช่วยทำให้อาเจียน เนื้อในฝักมีรสหวานเอียนขม ใช้ปรุงเป็นยาระบายอ่อน ๆ ระบายอุจจาระธาตุ แก้พรรดึกได้โดยไม่ไซ้ท้อง ช่วยระบายท้องเด็กได้ดีมาก โดยให้ใช้ในขนาด 8 กรัม เหมาะสำหรับใช้ในเด็กเพราะไม่ทำให้เกิดอาการข้างเคียงเหมือนยาระบายที่แรงกว่า 

ภาพกัลปพฤกษ์
กัลปพฤกษ์


ที่มา:https://medthai.com

ดอกพวงชมพู

ดอกไม้ไทย

เรานำดอกไม้ชนิดนี้เตือนมานะเพราะว่าดอกไม้ชนิดนี้มีสารกล่อมประสาทด้วย

๓๗.ดอกพวงชมพู
ดอกพวงชมพูชื่อสามัญ Mexican Creeper, Bee Bush, Bride’s tears, Coral Vine, Chain of Love, Confederate Vine, Corallita, Hearts on a Chain, Honolulu Creeper, Queen’s Jewels, Mountain Rose CoralvineSan Miguelito Vine, Rose Pink Vineชื่อวิทยาศาสตร์ Antigonon leptopus Hook. & Arn. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Antigonon amabie K.Koch, Antigonon cinerascens M.Martens & Galeott, Antigonon cordatum M.Martens & Galeotti, Antigonon platypus Hook. & Arn., Corculum leptopus Stuntz) จัดอยู่ในวงศ์ผักไผ่ 

ต้นพวงชมพู มีถิ่นกำเนิดในแถบอเมริกากลาง พบมากในประเทศเม็กซิโก จัดเป็นไม้เถาเลื้อยที่มีเถาเนื้ออ่อนขนาดเล็ก แต่ตรงส่วนโคนจะแข็งแรงมาก ลำเถาเป็นสีเขียวอ่อน มีมือสำหรับยึดเกาะพันต้นไม้หรือกิ่งอื่นเพื่อการทรงตัว และสามารถเลื้อยพันสิ่งต่าง ๆ ไปได้ไกลประมาณ 40 ฟุต ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การตอน และการปักชำกิ่ง พวงชมพูเป็นไม้กลางแจ้งที่ต้องการแสงแดดมาก ต้องการน้ำปานกลาง เจริญเติบโตได้ดีในดินแทบทุกชนิดที่มีความชื้นพอสมควร นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไปในเขตร้อน แต่ในบางประเทศพบขึ้นเป็นวัชพืช
สรรพคุณของพวงชมพูรากและเถาใช้เป็นยากล่อมประสาท ช่วยทำให้นอนหลับ ด้วยการใช้เถาประมาณ 1 กำมือ หรือใช้รากประมาณ 1/2 กำมือ นำมาต้มกับน้ำ 4 ถ้วยแก้ว แล้วต้มให้เหลือ 2 ถ้วยแก้ว ใช้รับประทานก่อนนอนครั้งละ 3 ช้อนแกง 
ภาพดอกพวงชมพู
พวงชมพู

ที่มา:https://medthai.com

ดอกขุนนาค

ดอกไม้ไทย

วันนี้เราจะมานำเสนอดอกไม้ประจำจังหวัดพิจิตที่มีความงดงามมากยังจัดเป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดพิจิตรอีกด้วย

๓๖.ดอกขุนนาค
ดอกขุนนาคชื่อสามัญ Iron wood, Indian rose chestnut ชื่อวิทยาศาสตร์ Mesua ferrea L. ปัจจุบันจัดอยู่ในวงศ์ CALOPHYLLACEAE
ต้นบุนนาค กับความเชื่อ คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นไม้ชนิดนี้ไว้เป็นไม้ประจำบ้าน จะช่วยทำให้เป็นผู้มีความประเสริฐและมีบุญ (พ้องกับความหมายของชื่อ) และคำว่านาคยังหมายถึง พญานาคที่มีแสนยานุภาพ ที่จะช่วยปกป้องคุ้มครองภัย นอกจากนี้ยังเชื่อว่าจะช่วยป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ จากภายนอกได้ด้วย เนื่องจากใบของบุนนาคสามารถช่วยรักษาพิษต่าง ๆ ได้ โดยจะนิยมปลูกต้นบุนนาคไว้ทางทิศตะวันตกของบ้าน และปลูกกันในวันเสาร์เพื่อเอาคุณ
สรรพคุณของบุนนาคช่วยชูกำลัง รักษาอาการอ่อนเพลีย ช่วยแก้กระหาย แก้ร้อน อาการกระสับกระส่าย ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น ดอกบุนนาคมีสรรพคุณช่วยแก้ไข้ ใบใช้ตำเป็นยาพอกโดยผสมรวมกับน้ำนมและน้ำมันมะพร้าวใช้สุมหัวแก้ไข้หวัดอย่างแรง ช่วยแก้ไข้สำประชวร ดอกใช้เป็นยารักษาไข้กาฬ ผลมีสรรพคุณช่วยขับเหงื่อ หรือจะใช้เปลือกต้นนำมาต้มรวมกับขิงกินก็ได้
ภาพดอกขุนนาค
บุนนาค
ที่มา:https://medthai.com

ดอกทองกวาว

ดอกไม้ไทย

มาแนะนำดอกไม้ที่ปลูกแล้วเรียนเงินเรียนกทองเข้าบ้าน แต่นี้ก็เป็นความเชื่อตั้งแต่สมัยโปราณ

๓๕.ดอกทองกวาว
ดอกทองกวาวชื่อสามัญBastard teak, Bengal kino,Kino tree, Flame of the forest ชื่อวิทยาศาสตร์Buteamonosperma(Lam.)Taub.จัดอยู่ในวงศ์ถั่วและอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว            
ต้นทองกวาว มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียใต้ จากประเทศไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย ศรีลังกา เนปาล บังกลาเทศ ปากีสถาน อินเดีย และในแถบทางภาคตะวันตกของอินโดนีเซีย โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูงประมาณ 12-18 เมตร กิ่งอ่อนมีขนละเอียดสีน้ำตาลหนา ลักษณะของการแตกกิ่งก้านจะเป็นไปในทิศทางที่ไม่เป็นระเบียบ ส่วนเปลือกต้นจะเป็นปุ่มปม ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดหรือการใช้กิ่งปักชำ
สรรพคุณของทองกวาว รากทองกวาวมีสรรพคุณช่วยบำรุงธาตุ รากทองกวาวใช้ต้มรักษาโรคประสาท ดอกทองกวาวใช้ต้มดื่มช่วยถอนพิษไข้ได้ ช่วยแก้กระหายน้ำ ช่วยสมานแผลปากเปื่อย แก่นสามารถใช้ทาแก้อาการปวดฟันได้ ดอกใช้หยอดตาแก้อาการตาแดง เจ็บตา ปวดตา ระคายเคืองตา ตามัว ตาแฉะ ตาฟาง ช่วยแก้อาการท้องร่วง ทองกวาวมีสรรพคุณช่วยแก้อาการท้องขึ้น ฝัก ใบ หรือเมล็ด นำมาต้มเอาแต่น้ำใช้เป็นยาขับพยาธิหรือพยาธิตัวกลม ใช้บำบัดพยาธิภายใน ดอกใช้ต้มดื่มช่วยขับปัสสาวะ ใบช่วยรักษาริดสีดวง 

ภาพดอกทองกวาว


ที่มา:https://medthai.com

ดอกชบา

ดอกไม้ไทย

วันนี้จะมาแนะนำดอกไม้ที่ต่างประเทศให้สมญานามดอกชบาว่าเป็น ราชินีแห่งไม้ดอกเมืองร้อนเลยทีเดียว และยังจัดเป็นดอกไม้ประจำชาติของประเทศมาเลเซีย จาไมก้า รวมไปถึงรัฐฮาวายอีกด้วย 

๓๔.ดอกชบา
ดอกชบาชื่อสามัญ Shoe flower, Hibiscus, Chinese rose ชื่อวิทยาศาสตร์ Hibiscus rosa-sinensis L. จัดอยู่ในวงศ์ชบา (MALVACEAE) มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า  ชุมเบา (ปัตตานี), ใหม่ ใหม่แดง (ภาคเหนือ), บา (ภาคใต้) เป็นต้น โดยต้นชบานั้นมีต้นกำเนิดในประเทศจีน อินเดีย และในหมู่เกาะฮาวาย

ประวัติดอกชบา ความเชื่อของคนโบราณในบ้านเรานั้นยังมีอคติกับดอกชบาอยู่ อาจเป็นเพราะเราได้รับดอกชบามาจากอินเดีย จึงได้รับความเชื่อของคนอินเดียมาด้วย เพราะในอินเดียนั้นดอกชบาจะนำมาใช้บูชาเจ้าแม่กาลี และนำมาร้อยพวงมาลัยสวมคอนักโทษประหาร และความหมายของดอกชบาในสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ จะใช้ดอกชบาไว้สำหรับลงโทษและประจานผู้หญิงร้ายหรือผู้หญิงแพศยา ด้วยการนำดอกชบามาทัดหูทั้ง 2 ข้าง และร้อยดอกชบาแดงเป็นมาลัยใส่ศีรษะและใส่คอ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้คนโบราณไม่นิยมใช้และมีอคติกับดอกชบานั่นเอง 

สรรพคุณของดอกชบามีส่วนช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยบำรุงจิตใจให้สดชื่นช่วยฟอก ช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคที่เกี่ยวกับไต ช่วยดับร้อนในร่างกาย แก้กระหาย และช่วยแก้ไข้ ด้วยการใช้ดอกชบา ใบนำมาแช่ในน้ำต้มสุก แก้วแล้วดื่มต่างช่วยเรียกน้ำย่อย ทำให้อาการมีรสชาติดีขึ้น ด้วยการใช้รากชบาน้ำไปต้มกับน้ำช่วยแก้ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ มีระดูขาว ด้วยการใช้ดอกชบาสดประมาณ 4 ดอกนำมาตำให้ละเอียด แล้วกินตอนท้องว่างในช่วงเช้าติดต่อกันประมาณ 1 สัปดาห์ หรือจะนำดอกชบามาตากให้แห้งในที่ร่ม แล้วนำมาบดเป็นผงกินครั้งละ 1 ช้อนชาติดต่อกัน 1 ช่วยแก้ประจำเดือนไม่มา หรือมาช้า ด้วยการใช้ดอกชบา 3 ดอกนำมาบดให้ละเอียด แล้วผสมกับน้ำมะนาว 2 ช้อนโต๊ะ (หรือจะผสมกับนม 1 แก้วก็ได้) แล้วนำมาดื่มตอนท้องว่างในช่วงเช้า จะช่วยปรับเรื่องประจำเดือนได้ (ใช้ปรุงเป็นยาบำรุงประจำเดือน ด้วยการใช้กลีบดอกชบาผสมกับน้ำตาลอ้อยหรือน้ำตาลปี๊ปอย่างละเท่า ๆ กัน ใส่ลงไปในโถแก้วมีฝาปิด แล้วเอาโถแก้วไปตากแดดทิ้งไว้ประมาณ 3 สัปดาห์ น้ำตาลก็จะละลายผสมกับดอกชบา แล้วยำมากินครั้งละ 2 ช้อนชา วันละสองครั้งติดต่อกันประมาณ 3 สัปดาห์ (ใบชบาสามารถช่วยรักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกได้ ด้วยการใช้ใบชบาหรือฐานของดอกชบาก็ได้ นำมาตำให้แหลก แล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็นแผล ก็จะช่วยรักษาแผลได้ (เปลือกต้นชบาสามารถใช้รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อราได้

ภาพดอกชบา
ดอกชบา

ที่มา:https://medthai.com

ดอกบานไม่รู้โรย

ดอกไม้ไทย

๓๓.ดอกบานไม่รู้โรย
ดอกบานไม่รุ้โรยชื่อสามัญ Bachelor’s button, Button agaga, Everlasting, Gomphrena, Globe amaranth, Pearly everlastingบานไม่รู้โรย ชื่อวิทยาศาสตร์ Gomphrena globosa L. จัดอยู่ในวงศ์บานไม่รู้โรย (AMARANTHACEAE)
ทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้บ้างก็ว่ามีถิ่นกำเนิดในเอเชีย ออสเตรเลีย ยุโรป และอเมริกาโดยจัดเป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก มีอายุประมาณ 1 ปี มีความสูงของต้นประมาณ 50 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านบริเวณยอดต้น กิ่งก้านเป็นเหลี่ยมและมีร่อง ลำต้นอ่อนมีขนสีขาวปกคลุม ตามข้อต้นพองออกเล็กน้อย ข้อต้นเป็นสีแดง แต่บางต้นข้อต้นก็เป็นสีเขีย
สรรพคุณของบานไม่รู้โรยทั้งต้นและรากมีรสเย็นขื่น นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้กษัดอกและต้นมีรสหวาน ขื่น ชุ่ม เป็นยาสุขุม ออกฤทธิ์ต่อปอดและตับ ใช้เป็นยาแก้ตับร้อนหรือธาตุไฟเข้าตับ ช่วยแก้ตาเจ็บ ตามัว อันเนื่องจากธาตุไฟเข้าตับ ใช้แก้เด็กตัวร้อนตาเจ็บ ด้วยการใช้ดอกสดประมาณ 10-14 ดอกนำมาต้มกับน้ำรับประทาน หรือใช้ผสมกับฟักเชื่อมแห้ง นำมาต้มกับน้ำรับประทานเป็นยา ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ แก้ลมขึ้นศีรษะ ทำให้เวียนศีรษะ ด้วยการใช้ดอก 10 กรัมและหญ้าแซ่ม้า 20 กรัมนำมาต้มกับน้ำรับประทาน ใช้แก้เด็กเป็นโรคลมชัก ด้วยการใช้ดอก 10 ดอกผสมกับตั๊กแตนแห้ง 7 ตัว (Oxya chinensis thumb.) นำมาตุ๋นเป็นยารับประทาน ช่วยแก้อาการไอ  แก้อาการไอเป็นเลือด เลือดออกตามทวารทั้งเก้า แก้ไอกรน ใช้แก้หืดหอบ ไอหืด ไอหอบ หลอดลมอักเสบ ด้วยการใช้ดอกแห้งประมาณ 10-15 กรัมนำมาต้มกับน้ำรับประทาน หรือจะใช้ดอก 10 ดอกนำมาต้มผสมกับเหล้าเล็กน้อย ใช้ดื่มวันละ 3 ครั้ง หรือให้ใช้สารที่สกัดได้จากดอกทำเป็นยาฉีด โดยใช้ครั้งละ 0.3 ซีซี ถ้าหากมีเสมหะมากให้เพิ่มปริมาณได้อีกตามที่แพทย์สั่ง ช่วยขับเสมหะ ช่วยรักษาโรควัณโรคในปอด ช่วยรักษาโรคบิด ช่วยแก้บิดมูก ให้ใช้ดอก 10 ดอกนำมาต้มกับน้ำผสมกับเหล้าเล็กน้อย ใช้ดื่มเป็นยา
ภาพดอกบานไม่รู้โรย
บานไม่รู้โรยดอกขาว

ที่มา:https://medthai.com

ดอกยี่สุ่น

ดอกไม้ไทย

วันนี้มาแนะนำที่เป็นดอกไม้โปรดของสมเด็จพระนเรศวร พระองค์ทรงนำกลับมาปลูกหลังจากเสร็จสงครามที่เมืองมอญ 

๓๒.ดอกยี่สุ่น(กุหลาบมอญ)
ดอกยี่สุ่น หรือกุหลาบมอญชื่อสามัญ Damask rose, Pink damask rose, Summer damask rose, Roseชื่อวิทยาศาสตร์ Rosa × damascena Mill. จัดอยู่ในวงศ์กุหลาบ (ROSACEAE)

ต้นกุหลาบมอญ หรือ ต้นยี่สุ่น เป็นกุหลาบพันธุ์พื้นเมืองของหงสาวดี (เมืองของชาวมอญในอดีต) โดยเป็นดอกไม้ที่ทรงโปรดของสมเด็จพระนเรศวร พระองค์ทรงนำกลับมาปลูกหลังจากเสร็จสงครามที่เมืองมอญ โดยจัดเป็นไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง มีความสูงของต้นประมาณ 1-2 เมตร แตกกิ่งก้านตั้งแต่โคนต้น เปลือกต้นเรียบ มีหนามแหลมตามกิ่งและตามลำต้น ปกติมีหนามมากและมีความยาวไม่เท่ากัน มีลักษณะตรงถึงโค้งเล็กน้อย หนามอ่อนเป็นสีน้ำตาลแกมสีแดง ส่วนหนามแก่เป็นสีเทา ต้นกุหลาบมอญเป็นไม้ดอกกลางแจ้งเจริญเติบโตได้ดีในที่โล่งกลางแจ้งและในดินร่วนซุยที่มีธาตุอาหารเพียงพอและระบายน้ำได้ดี ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การปักชำกิ่ง และวิธีการตอนกิ่งซึ่งเป็นที่นิยมที่สุด เนื่องจากออกรากได้ง่าย

สรรพคุณ ตำรายาไทยใช้กลีบดอกมีรสสุขม ใช้เข้ายาหอมเป็นยาบำรุงหัวใจ ดอกแห้งช่วยแก้อาการอ่อนเพลีน้ำดอกไม้เทศที่มีส่วนผสมของกุหลาบมอญ ช่วยแก้อาการอ่อนเพลียและกระวนกระวายกลีบดอกช่วยขับน้ำดี ดอกแห้งใช้เป็นยาระบายอ่อน ๆ 

ภาพดอกยี่สุ่น

กุหลาบมอญ


ที่มา:https://medthai.com

จันทร์เทศ

ดอกไม้ไทย น้ำมันลูกจันทน์และน้ำมันดอกจันทน์มีฤทธิ์ในการฆ่าลูกน้ำและตัวอ่อนของแมลงได้ ๕๐. จันทร์เทศ จันทน์เทศ ชื่อสามัญ  Nutmeg ชื่อว...