ดอกไม้ไทย
ดอกลีลาวดีแต่เดิมมีชื่อว่าลั่นทมซึ่งเป็นชื่อที่ไม่มงคล จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นลีลาวดีเพราะเชื่อว่าลีลาวดีแปลว่าความอ่อนช้อยและความสวยงาม
๙.ดอกลีลาวดี
ลีลาวดี หรือ ลั่นทม (Frangipani, Plumeria, Temple tree) เป็นไม้ดอกยืนต้นในสกุล Plumeria สมัยก่อนนิยมเรียกว่า “ลั่นทม” ทำให้บางคนมีความเชื่อว่า ไม่ควรปลูกต้นชนิดนี้ในบ้าน เนื่องจากมีชื่อเป็นอัปมงคลที่พ้องกับคำว่า ‘ระทม’ ที่แปลว่า เศร้าโศก หรือ ทุกข์ใจ ปัจจุบันจึงเรียกชื่อใหม่ ว่า “ลีลาวดี” ซึ่งเป็นชื่อพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ (“ดอกไม้ป่ามหาราชินี” นิตยสารสกุลไทย ฉบับที่ 2601 ปีที่ 50) มีชื่อเรียกในพื้นเมืองอื่นๆ เช่น จำปา, จำปาลาว และจำปาขอม เป็นต้น ถือเป็นดอกไม้ประจำชาติของประเทศลาวคำว่า ลีลาวดี เป็นคำที่ได้มาจากลักษณะท่วงท่าที่สวยงาม และอ่อนช้อยของกิ่ง และลำต้น รวมถึงความสวยงามของดอกที่หลากสีสัน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้นลีลาวดี เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดเล็ก สูง 6-12 เมตร เรือนยอดมีรูปไข่หรือรูปร่ม แตกกิ่งแผ่กว้าง ลำต้นมีลักษณะกลม เปลือกสีเขียวอมเทา เมื่ออายุมาก บริเวณแผลที่ก้านใบหลุดร่วงจะเกิดเป็นตุ่มนูนทั่วลำต้น ทุกส่วนของลำต้นมีน้ำยางสีขาว มีพิษต่อเนื้อเยื่ออ่อนของร่างกาย เช่น ใบหน้า ดวงตา ริมฝีปาก ใบหู เป็นต้น ใบใบลั่นทมเป็นใบเดี่ยว ใบมีรูปไข่กลับหัว รูปหอกแกมรูปไข่กลับหัว ออกบริเวณกิ่ง และเรียงสลับเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง มีเส้นใบแบบขนนก เส้นใต้ใบนูนเด่นชัด ใบมีสีเขียวอ่อนจนถึงสีเขียวเข้มเป็นมัน บางพันธุ์ใบไม่เป็นมันเงาดอกดอกออกเป็นช่อที่ซอกใบบริเวณปลายกิ่ง แต่ละช่อมี 8-16 ดอก จัดเป็นดอกสมบูรณ์เพศมีเกสรเพศผู้เชื่อมติดกับโคนกลีบดอก เกสรเพศเมียมีสีเหลือง และประกอบด้วยรังไข่อยู่เหนือกลีบดอก โคนกลีบดอกมีลักษณะเป็นหลอด ภายในมีขนอ่อนปกคลุม กลีบดอกมักพบทั่วไป 5 กลีบ หรืออาจมีถึง 11 กลีบ มีลักษณะเป็นรูปไข่หัวกลับเรียงซ้อนเป็นวงเหลื่อมกัน ปลายกลีบดอกมน และโค้งออก มีหลายสี เช่น สีขาว ชมพู เหลือง ส้ม แดง ม่วง หรือสีผสมในดอกเดียวกัน ส่งกลิ่นหอม ออกดอกตลอดปี แต่ดกมากในช่วงหน้าแล้ง หรือตั้งแต่ปลายเดือนมกราคม– พฤษภาคม ผลผลเป็นฝักคู่ รูปรียาว ตรงกลางโป่งพองเล็กน้อย บริเวณขั้ว และปลายแหลม กว้าง 2-3 เซนติเมตร ผิวเปลือกมีสเขียว เปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้มหรือสีแดง และเป็นสีน้ำตาลจนถึงดำเมื่อแก่จัด และจะแตกเป็นสองซีกเมื่อแก่จนฝักแห้ง ภายฝักมีเมล็ดประมาณ 25 – 100 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะแบน มีปีกติดที่ด้านใดด้านหนึ่งของเมล็ด
ชนิดลั่นทม
ลีลาวดีทั่วโลกมีเพียง 8 ชนิด และมีเพียง 4 ชนิด ที่นิยมปลูก คือ
1. ลีลาวดีดอกขาวหรือ West Indian Jasmine (P. alba L.) ลำต้นสูงตั้งแต่ 2-6 เมตร แตกกิ่งแผ่กว้างประมาณ 4 เมตร ใบมีรูปใบหอก ยาว 30 เซนติเมตร ขอบใบเป็นคลื่น ดอกมีสีเหลือง กลางดอกสีขาว เส้นผ่านศูนย์กลาง 6 เซนติเมตร
2. ลีลาวดีขาวพวง (P. obtusa L. ) ต้นสูง 8 เมตร ใบมีรูปใบหอกกลับ ปลายใบมน มีสีเขียวเข้ม ยาว 18 เซนติเมตร ดอกมีสีขาว กลางดอกสีเหลือง เส้นผ่าศูนย์กลาง 5-7 เซนติเมตร
3. ลีลาวดีใบลูกศร (P. pudica L.) ลำต้นต้นสูง 2-3 เมตร ใบสีเขียวเข้ม ปลายใบแหลมคล้ายลูกศร ยาว 30 เซนติเมตร ดอกมีสีขาวนวล กลางดอกสีเหลือง เส้นผ่าศูนย์กลาง 5-7 เซนติเมตร เป็นลีลาวดีชนิดเดียวที่ไม่มีกลิ่นหอม
4. ลีลาวดีดอกแดง (P. rubra L.) ลำต้นสูง 4-7 เมตร ใบมีรูปไข่กลับหัว รูปทรงรีหรือรูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน ดอกมีสีชมพูเข้มถึงแดง เส้นผ่านศูนย์กลาง 5-7 เซนติเมตร
ลีลาวดีทั่วโลกมีเพียง 8 ชนิด และมีเพียง 4 ชนิด ที่นิยมปลูก คือ
1. ลีลาวดีดอกขาวหรือ West Indian Jasmine (P. alba L.) ลำต้นสูงตั้งแต่ 2-6 เมตร แตกกิ่งแผ่กว้างประมาณ 4 เมตร ใบมีรูปใบหอก ยาว 30 เซนติเมตร ขอบใบเป็นคลื่น ดอกมีสีเหลือง กลางดอกสีขาว เส้นผ่านศูนย์กลาง 6 เซนติเมตร
2. ลีลาวดีขาวพวง (P. obtusa L. ) ต้นสูง 8 เมตร ใบมีรูปใบหอกกลับ ปลายใบมน มีสีเขียวเข้ม ยาว 18 เซนติเมตร ดอกมีสีขาว กลางดอกสีเหลือง เส้นผ่าศูนย์กลาง 5-7 เซนติเมตร
3. ลีลาวดีใบลูกศร (P. pudica L.) ลำต้นต้นสูง 2-3 เมตร ใบสีเขียวเข้ม ปลายใบแหลมคล้ายลูกศร ยาว 30 เซนติเมตร ดอกมีสีขาวนวล กลางดอกสีเหลือง เส้นผ่าศูนย์กลาง 5-7 เซนติเมตร เป็นลีลาวดีชนิดเดียวที่ไม่มีกลิ่นหอม
4. ลีลาวดีดอกแดง (P. rubra L.) ลำต้นสูง 4-7 เมตร ใบมีรูปไข่กลับหัว รูปทรงรีหรือรูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน ดอกมีสีชมพูเข้มถึงแดง เส้นผ่านศูนย์กลาง 5-7 เซนติเมตร
แต่ปัจจุบันมีการพัฒนา และปรับปรุงพันธุ์ให้มีดอกหลายสีในดอกเดียวหรือหรือสีแปลกใหม่เพิ่มขึ้น
สารสำคัญที่พบ
วิญญู จิตสัมพันธเวช ได้ศึกษาสกัดน้ำมันระเหยของดอกลีลาวดี พบสารอินทรีย์ประเภทต่าง ๆ ได้แก่ แอลกอฮอล์, แอลดีไฮด์, เอสเทอร์ และ เทอร์พีน สารที่พบมาก ได้แก่ L-Linalool พบในดอกลีลาวดีพันธุ์ขาวพวงร้อยละ 64.3, ดอกสีขาวเหลืองร้อยละ 52.9 และดอกสีชมพูร้อยละ 37.6 นอกจากนั้นยังพบสาร Benzaldehyde ร้อยละ 22.1 ในดอกสีขาวเหลือง และสาร trans-β-Ocimene ร้อยละ 48.4 ในพันธุ์เหลืองอ่างทอง
วิญญู จิตสัมพันธเวช ได้ศึกษาสกัดน้ำมันระเหยของดอกลีลาวดี พบสารอินทรีย์ประเภทต่าง ๆ ได้แก่ แอลกอฮอล์, แอลดีไฮด์, เอสเทอร์ และ เทอร์พีน สารที่พบมาก ได้แก่ L-Linalool พบในดอกลีลาวดีพันธุ์ขาวพวงร้อยละ 64.3, ดอกสีขาวเหลืองร้อยละ 52.9 และดอกสีชมพูร้อยละ 37.6 นอกจากนั้นยังพบสาร Benzaldehyde ร้อยละ 22.1 ในดอกสีขาวเหลือง และสาร trans-β-Ocimene ร้อยละ 48.4 ในพันธุ์เหลืองอ่างทอง
สรรพคุณ
ลีลาวดีสามารถใช้เป็นยาสมุนไพรทั้งส่วนลำต้น, ยางจากต้น, เปลือกต้น, เนื้อไม้, ใบ, ดอก และราก ลำต้น ใช้รักษาโรคลำไส้อักเสบ แผลในลำไส้ ทั้งคน และสัตว์ ใบ ใช้ใบตากแห้งหั่นชงน้ำร้อนดื่ม สำหรับรักษาโรคหืด หรือนำใบสดลนไฟใช้ประคบแผลหรือบริเวณฟกช้ำ ราก ใช้ฝนประคบหรือต้มน้ำดื่มรักษาโรคหนองใน ใช้เป็นยาถ่าย รักษาโรคไขข้ออักเสบ ขับลม แก้อาการท้องอืด ท้องเฝื้อ อาการท้องเสีย เปลือกต้น นำมาต้มน้ำดื่มเป็นยาถ่าย ช่วยขับระดู ลดไข้ แก้โรคโกโนเลีย หรือใช้ผสมกับน้ำมันมะพร้าว สำหรับเป็นยาแก้ท้องเดิน ยาถ่าย ยาขับปัสสาวะ ดอก ใช้เป็นส่วนผสมทำธูปหอม ใช้ผสมกับพลูต้มหรือรับประทานสดสำหรับเป็นยาลดไข้ แก้ไข้มาเลเรีย รวมถึงสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหยใช้สำหรับแก้วิงเวียนศรีษะ นวดแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เนื้อไม้ ต้มน้ำดื่มเป็นยาแก้ไอ ใช้เป็นยาถ่าย และยาขับพยาธิ ยางจากต้น ผสมเป็นยาถ่าย ใช้ทารักษาแผล แก้ผดผื่น ใช้ผสมกับไม้จันทน์ และการบูร เป็นยาแก้คัน แก้ผดผื่น แก้ปวดฟัน ใช้ทารักษาแผล
ลีลาวดีสามารถใช้เป็นยาสมุนไพรทั้งส่วนลำต้น, ยางจากต้น, เปลือกต้น, เนื้อไม้, ใบ, ดอก และราก ลำต้น ใช้รักษาโรคลำไส้อักเสบ แผลในลำไส้ ทั้งคน และสัตว์ ใบ ใช้ใบตากแห้งหั่นชงน้ำร้อนดื่ม สำหรับรักษาโรคหืด หรือนำใบสดลนไฟใช้ประคบแผลหรือบริเวณฟกช้ำ ราก ใช้ฝนประคบหรือต้มน้ำดื่มรักษาโรคหนองใน ใช้เป็นยาถ่าย รักษาโรคไขข้ออักเสบ ขับลม แก้อาการท้องอืด ท้องเฝื้อ อาการท้องเสีย เปลือกต้น นำมาต้มน้ำดื่มเป็นยาถ่าย ช่วยขับระดู ลดไข้ แก้โรคโกโนเลีย หรือใช้ผสมกับน้ำมันมะพร้าว สำหรับเป็นยาแก้ท้องเดิน ยาถ่าย ยาขับปัสสาวะ ดอก ใช้เป็นส่วนผสมทำธูปหอม ใช้ผสมกับพลูต้มหรือรับประทานสดสำหรับเป็นยาลดไข้ แก้ไข้มาเลเรีย รวมถึงสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหยใช้สำหรับแก้วิงเวียนศรีษะ นวดแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เนื้อไม้ ต้มน้ำดื่มเป็นยาแก้ไอ ใช้เป็นยาถ่าย และยาขับพยาธิ ยางจากต้น ผสมเป็นยาถ่าย ใช้ทารักษาแผล แก้ผดผื่น ใช้ผสมกับไม้จันทน์ และการบูร เป็นยาแก้คัน แก้ผดผื่น แก้ปวดฟัน ใช้ทารักษาแผล
ภาพดอกลีลาวดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น