วันอาทิตย์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ดอกรัก

ดอกไม้ไทย

๑๐.ดอกรัก
ดอกรักชื่อสามัญ:Crown Flower, Giant Indian Milkweed, Gigantic ชื่อวิทยาศาสตร์:Calotropis gigantea(Linn.) R.Br.ex Ait.ชื่อวงศ์ACSLEPIADACEAE

ลักษณะ
  • ต้นรัก จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กหรือเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง มีความสูงของต้นประมาณ 1-3 เมตร ลำต้นมีเนื้อไม้ แตกกิ่งก้านมากที่โคนต้น และจะแตกกิ่งก้านสาขาแผ่ออกทางด้นข้างพอ ๆ กับส่วนสูงของลำต้น เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือสีเทาคล้ายขี้เถ้า แตกเป็นร่องตามยาว กิ่งจะไม่มีเนื้อไม้ ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนละเอียดสีขาวปกคลุมอยู่หนาแน่น และทุกส่วนของต้นมียางสีขาวข้น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการปักชำ ต้นรักเป็นพืชที่ทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดี โดยเฉพาะในสภาพดินที่ไม่สมบูรณ์และมีความแห้งแล้ง เราจึงมักพบต้นรักขึ้นได้เองตามธรรมชาติทั่วไป ตามที่รกร้าง บริเวณข้างถนน ริมถนน ริมทางรถไฟ ริมคลอง และตามหมู่บ้าน โดยมีเขตการกระจายพันธุ์ตั้งแต่อินเดียไปจนถึงพม่า ไทย จีน คาบสมุทรมลายู ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และนิวกินี
  • ใบรัก ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรีแกมขอบขนาน ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบมนหรือเว้าเล็กน้อย ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-30 เซนติเมตร แผ่นใบหนาอวบน้ำ หลังใบและท้องใบมีขนสีขาวปกคลุม เมื่อกระทบแสงจะสะท้อนเป็นสีเหลืองนวล ใบไม่มีก้านใบ หรือมีก้านใบสั้น
  • ดอกรัก ออกดอกเป็นช่อแบบซี่ร่ม โดยจะออกตามซอกใบใกล้ส่วนยอดหรือตามปลายกิ่ง แต่ละช่อมีดอกย่อยจำนวนมาก ก้านช่อดอกยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร ส่วนก้านดอกย่อยยาวประมาณ 2.5-4 เซนติเมตรดอกเป็นสีขาว สีม่วง หรือสีม่วงแดง (สีขาวอมม่วงก็มี) มีกลีบดอก 5 กลีบ กลีบดอกผิวเกลี้ยง แต่ละกลีบเป็นรูปรีถึงรูปใบหอก ปลายแหลมหรืออาจบิด กว้างประมาณ 0.5-0.8 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ส่วนโคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน หลอดกลีบดอกสั้น และมีรยางค์ลักษณะเป็นรูปมงกุฎขนาดใหญ่อยู่ตรงกลางดอก มี 5 แฉก อวบน้ำ เชื่อมติดกัน (นิยมนำมาแยกใช้ร้อยเป็นพวงมาลัย) สั้นกว่าเส้าเกสรเพศผู้ ปลายมน มีติ่งมนทางด้านข้าง ฐานเป็นเดือย และอับเรณูมีเยื่อบางหุ้ม ส่วนกลีบเลี้ยงดอกมี 5 กลีบ ลักษณะของกลีบเป็นรูปไข่กลับ ปลายแหลม กว้างประมาณ 2-3 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 4-6 มิลลิเมตร และมีขนนุ่มปกคลุม สามารถออกดอกและติดผลได้ตลอดปี แต่จะออกมากในช่วงฤดูร้อน (หมอยาพื้นบ้านของไทยจะเรียกต้นรักที่มีดอกสีม่วงว่า “ต้นธุดงค์”)
  • ผลรัก ออกผลเป็นฝักติดกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะของฝักเป็นรูปรีโค้ง ปลายฝักแหลมงอ มีขนาดกว้างประมาณ 2.58-4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7-10 เซนติเมตร ผิวเป็นคลื่น ผิวฝักมีนวลสีขาวเหนียวมือ ฝักอ่อนเปลือกสีขาว เมื่อแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแลแตกออก ภายในฝักมีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก ลักษณะของเมล็ดแบนเป็นสีน้ำตาล ยาวประมาณ 5-7 มิลลิเมตร และมีขนสีขาวติดอยู่เป็นกระจุกที่ปลายของเมล็ด ยาวประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร และสามารถปลิวไปตามลมได้ไกล

สรรพคุณ

สรรพคุณของต้นรักดอกมีรสเฝื่อน สรรพคุณช่วยทำให้เจริญอาหาร (ดอก)ต้นมีรสเฝื่อนขม มีสรรพคุณช่วยบำรุงทวารทั้งห้า (ต้น)ยางจากต้นเป็นยาแก้อาการปวดหู ปวดฟัน (ยางขาวจากต้น)รากใช้เป็นยาแก้ไข้ (ราก)แก้ไข้เหนือ ช่วยแก้อาการไอ อาการหวัด แก้หอบหืด (ดอก) ช่วยทำให้อาเจียน (ปลือกต้นราก เปลือกรากช่วยขับเหงื่อ เปลือกรากเปลือกรากมีสรรพคุณช่วยขับเสมหะได้ (เปลือกราก)ช่วยในการย่อย (ดอกใช้เป็นยารักษาโรคบิด  เปลือกราก แก้บิดมูกเลือด ยางขาวจากต้นมีฤทธิ์เป็นยาถ่ายอย่างแรง (ยางขาวจากต้น) ใช้เป็นยาขับพยาธิ โดยใช้ยางขาวจากต้นนำมาทาตัวปลาช่อนแล้วย่างไฟให้เด็กกินเป็นยาเบื่อพยาธิไส้เดือน (ยางขาวจากต้น) ช่วยแก้ริดสีดวงในลำไส้ (ยางขาวจากต้น) ใบมีสรรพคุณเป็นยาแก้ริดสีดวงทวาร (ใบ) ยางขาวจากต้นมีฤทธิ์เป็นยาขับเลือด ทำให้แท้งได้ (ยาง) เปลือกต้นมีสรรพคุณช่วยขับน้ำเหลืองเสีย (เปลือกต้น) ยางไม้ใช้ใส่แผลสดเป็นยาฆ่าเชื้อ ช่วยแกคุดทะราด ช่วยแก้กลากเกลื้อน (ยางขาวจากต้น ดอกน้ำยางจากต้นใช้รักษาโรคเรื้อน (ยางขาวจากต้น) ผลหรือฝัก ใช้แก้รังแคบนหนังศีรษะ (ผล) ใบสดใช้เป็นยาพอกเพื่อบรรเทาอาการของโรคไขข้อ (ใบ)


ภาพดอกรัก

รัก


วีดีโอ
ที่มา 
https://medthai.com/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81/

ดอกลีลาวดี

ดอกไม้ไทย
ดอกลีลาวดีแต่เดิมมีชื่อว่าลั่นทมซึ่งเป็นชื่อที่ไม่มงคล จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นลีลาวดีเพราะเชื่อว่าลีลาวดีแปลว่าความอ่อนช้อยและความสวยงาม
๙.ดอกลีลาวดี
ลีลาวดี หรือ ลั่นทม (Frangipani, Plumeria, Temple tree) เป็นไม้ดอกยืนต้นในสกุล Plumeria สมัยก่อนนิยมเรียกว่า “ลั่นทม” ทำให้บางคนมีความเชื่อว่า ไม่ควรปลูกต้นชนิดนี้ในบ้าน เนื่องจากมีชื่อเป็นอัปมงคลที่พ้องกับคำว่า ‘ระทม’ ที่แปลว่า เศร้าโศก หรือ ทุกข์ใจ ปัจจุบันจึงเรียกชื่อใหม่ ว่า “ลีลาวดี” ซึ่งเป็นชื่อพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ (“ดอกไม้ป่ามหาราชินี” นิตยสารสกุลไทย ฉบับที่ 2601 ปีที่ 50) มีชื่อเรียกในพื้นเมืองอื่นๆ เช่น จำปา, จำปาลาว และจำปาขอม เป็นต้น ถือเป็นดอกไม้ประจำชาติของประเทศลาวคำว่า ลีลาวดี เป็นคำที่ได้มาจากลักษณะท่วงท่าที่สวยงาม และอ่อนช้อยของกิ่ง และลำต้น รวมถึงความสวยงามของดอกที่หลากสีสัน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
 ลำต้นลีลาวดี เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดเล็ก สูง 6-12 เมตร เรือนยอดมีรูปไข่หรือรูปร่ม แตกกิ่งแผ่กว้าง ลำต้นมีลักษณะกลม เปลือกสีเขียวอมเทา เมื่ออายุมาก บริเวณแผลที่ก้านใบหลุดร่วงจะเกิดเป็นตุ่มนูนทั่วลำต้น ทุกส่วนของลำต้นมีน้ำยางสีขาว มีพิษต่อเนื้อเยื่ออ่อนของร่างกาย เช่น ใบหน้า ดวงตา ริมฝีปาก ใบหู เป็นต้น ใบใบลั่นทมเป็นใบเดี่ยว ใบมีรูปไข่กลับหัว รูปหอกแกมรูปไข่กลับหัว ออกบริเวณกิ่ง และเรียงสลับเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง มีเส้นใบแบบขนนก เส้นใต้ใบนูนเด่นชัด ใบมีสีเขียวอ่อนจนถึงสีเขียวเข้มเป็นมัน บางพันธุ์ใบไม่เป็นมันเงาดอกดอกออกเป็นช่อที่ซอกใบบริเวณปลายกิ่ง แต่ละช่อมี 8-16 ดอก จัดเป็นดอกสมบูรณ์เพศมีเกสรเพศผู้เชื่อมติดกับโคนกลีบดอก เกสรเพศเมียมีสีเหลือง และประกอบด้วยรังไข่อยู่เหนือกลีบดอก โคนกลีบดอกมีลักษณะเป็นหลอด ภายในมีขนอ่อนปกคลุม กลีบดอกมักพบทั่วไป 5 กลีบ หรืออาจมีถึง 11 กลีบ มีลักษณะเป็นรูปไข่หัวกลับเรียงซ้อนเป็นวงเหลื่อมกัน ปลายกลีบดอกมน และโค้งออก มีหลายสี เช่น สีขาว ชมพู เหลือง ส้ม แดง ม่วง หรือสีผสมในดอกเดียวกัน ส่งกลิ่นหอม ออกดอกตลอดปี แต่ดกมากในช่วงหน้าแล้ง หรือตั้งแต่ปลายเดือนมกราคม– พฤษภาคม ผลผลเป็นฝักคู่ รูปรียาว ตรงกลางโป่งพองเล็กน้อย บริเวณขั้ว และปลายแหลม กว้าง 2-3 เซนติเมตร ผิวเปลือกมีสเขียว เปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้มหรือสีแดง และเป็นสีน้ำตาลจนถึงดำเมื่อแก่จัด และจะแตกเป็นสองซีกเมื่อแก่จนฝักแห้ง ภายฝักมีเมล็ดประมาณ 25 – 100 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะแบน มีปีกติดที่ด้านใดด้านหนึ่งของเมล็ด

ชนิดลั่นทม
ลีลาวดีทั่วโลกมีเพียง 8 ชนิด และมีเพียง 4 ชนิด ที่นิยมปลูก คือ
1. ลีลาวดีดอกขาวหรือ West Indian Jasmine (P. alba L.) ลำต้นสูงตั้งแต่ 2-6 เมตร แตกกิ่งแผ่กว้างประมาณ 4 เมตร ใบมีรูปใบหอก ยาว 30 เซนติเมตร ขอบใบเป็นคลื่น ดอกมีสีเหลือง กลางดอกสีขาว เส้นผ่านศูนย์กลาง 6 เซนติเมตร
2. ลีลาวดีขาวพวง (P. obtusa L. ) ต้นสูง 8 เมตร ใบมีรูปใบหอกกลับ ปลายใบมน มีสีเขียวเข้ม ยาว 18 เซนติเมตร ดอกมีสีขาว กลางดอกสีเหลือง เส้นผ่าศูนย์กลาง 5-7 เซนติเมตร
3. ลีลาวดีใบลูกศร (P. pudica L.) ลำต้นต้นสูง 2-3 เมตร ใบสีเขียวเข้ม ปลายใบแหลมคล้ายลูกศร ยาว 30 เซนติเมตร ดอกมีสีขาวนวล กลางดอกสีเหลือง เส้นผ่าศูนย์กลาง 5-7 เซนติเมตร เป็นลีลาวดีชนิดเดียวที่ไม่มีกลิ่นหอม
4. ลีลาวดีดอกแดง (P. rubra L.) ลำต้นสูง 4-7 เมตร ใบมีรูปไข่กลับหัว รูปทรงรีหรือรูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน ดอกมีสีชมพูเข้มถึงแดง เส้นผ่านศูนย์กลาง 5-7 เซนติเมตร
แต่ปัจจุบันมีการพัฒนา และปรับปรุงพันธุ์ให้มีดอกหลายสีในดอกเดียวหรือหรือสีแปลกใหม่เพิ่มขึ้น
สารสำคัญที่พบ
วิญญู จิตสัมพันธเวช ได้ศึกษาสกัดน้ำมันระเหยของดอกลีลาวดี พบสารอินทรีย์ประเภทต่าง ๆ ได้แก่ แอลกอฮอล์, แอลดีไฮด์, เอสเทอร์ และ เทอร์พีน สารที่พบมาก ได้แก่ L-Linalool พบในดอกลีลาวดีพันธุ์ขาวพวงร้อยละ 64.3, ดอกสีขาวเหลืองร้อยละ 52.9 และดอกสีชมพูร้อยละ 37.6 นอกจากนั้นยังพบสาร Benzaldehyde ร้อยละ 22.1 ในดอกสีขาวเหลือง และสาร trans-β-Ocimene ร้อยละ 48.4 ในพันธุ์เหลืองอ่างทอง
สรรพคุณ
ลีลาวดีสามารถใช้เป็นยาสมุนไพรทั้งส่วนลำต้น, ยางจากต้น, เปลือกต้น, เนื้อไม้, ใบ, ดอก และราก ลำต้น ใช้รักษาโรคลำไส้อักเสบ แผลในลำไส้ ทั้งคน และสัตว์ ใบ ใช้ใบตากแห้งหั่นชงน้ำร้อนดื่ม สำหรับรักษาโรคหืด หรือนำใบสดลนไฟใช้ประคบแผลหรือบริเวณฟกช้ำ ราก ใช้ฝนประคบหรือต้มน้ำดื่มรักษาโรคหนองใน ใช้เป็นยาถ่าย รักษาโรคไขข้ออักเสบ ขับลม แก้อาการท้องอืด ท้องเฝื้อ อาการท้องเสีย เปลือกต้น นำมาต้มน้ำดื่มเป็นยาถ่าย ช่วยขับระดู ลดไข้ แก้โรคโกโนเลีย หรือใช้ผสมกับน้ำมันมะพร้าว สำหรับเป็นยาแก้ท้องเดิน ยาถ่าย ยาขับปัสสาวะ ดอก ใช้เป็นส่วนผสมทำธูปหอม ใช้ผสมกับพลูต้มหรือรับประทานสดสำหรับเป็นยาลดไข้ แก้ไข้มาเลเรีย รวมถึงสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหยใช้สำหรับแก้วิงเวียนศรีษะ นวดแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เนื้อไม้ ต้มน้ำดื่มเป็นยาแก้ไอ ใช้เป็นยาถ่าย และยาขับพยาธิ ยางจากต้น ผสมเป็นยาถ่าย ใช้ทารักษาแผล แก้ผดผื่น ใช้ผสมกับไม้จันทน์ และการบูร เป็นยาแก้คัน แก้ผดผื่น แก้ปวดฟัน ใช้ทารักษาแผล
ภาพดอกลีลาวดี


ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A1

ดอกหางนกยูง

ดอกไม้ไทย
สำหรับดอกหางนกยูงจะมีสองชนิดมีดอกหางนกยูงไทย และ ดอกหางนกยูงอังกฤษ แต่เราจะมานำเสนอเกี่ยวกับดอกหางนกยูงไทย
๘.ดอกหางนกยูง
ดอกหางนกยูง ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia pulcherrima Sw . ชื่ออื่น : ขวางยอย (นครราชสีมา),ภูสีสร้อย (อีสาน), จำพอ, ซำพอ (แม่ฮ่องสอน), ซมพอ, ส้มพอ (ภาคเหนือ), หางนกยูงไทย วงศ์ : LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลักษณะต้นหางนกยูงไทย จัดเป็นไม้พุ่ม มีความสูงของต้นประมาณ 1-2.5 เมตร บ้างว่าสูงประมาณ 3-4 เมตร ลำต้นแตกกิ่งกานสาขามาก เรือนยอดโปร่งเป็นทรงพุ่มกลม ลำต้นมีขนาดเล็ก กิ่งก้านสาขาที่ยังอ่อนอยู่จะเป็นสีเขียว ส่วนกิ่งที่แก่จะเป็นสีน้ำตาลเข้ม ส่วนเปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล ตามกิ่งก้านมีหนาม (บางพันธุ์ก็ไม่มีหนาม) ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่งและวิธีการเพาะเมล็ด ขึ้นได้ในดินทั่วไป จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดดจัด ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง ต้นหางนกยูงไทยมีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ หมู่เกาะเวสต์อินดีส ในบ้านเราพบได้มากตามบ้านทั่วไปทั้งในเมืองและชนบท หรือตามสวนสาธารณะริมทางก็มีให้เห็นบ่อย ๆ


สรรพคูณดอกหางนกยูงสีเหลืองสามารถนำมาต้มกับน้ำ แล้วใช้อมเพื่อบรรเทาอาการปวดฟันได้ (ดอกของต้นดอกเหลืองรากมีรสเฝื่อน นำมาต้มหรือฝนกินเป็นยาแก้วัณโรคในระยะที่สาม (การนำมาใช้เป็นยาโดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้ต้นที่มีดอกสีแดง) (รากของต้นดอกแดง)เมล็ดมีสรรพคุณเป็นยาถ่ายพยาธิ (เมล็รากใช้ปรุงเป็นยาขับประจำเดือนของสตรี (รากของต้นดอกแดง รากมีสรรพคุณเป็นยาแก้บวม (ราก)เมล็ดในฝักสามารถนำมารับประทานได้ โดยแกะเอาเปลือกกับเมล็ดซึ่งมีรสฝาดทิ้งไป โดยเนื้อในเมล็ดจะมีรสหวานมันเล็กน้อย (เมล็ด)[ดอกสามารถนำมาใช้บูชาพระได้ นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ เพราะดอกมีความสวยงาม ปลูกได้ในดินทุกชนิดและยังมีความทนทาน ปลูกง่ายและขึ้นง่าย และยังเหมาะที่จะปลูกเป็นรั้ว เพราะหางนกยูงไทยบางสายพันธุ์จะมีหนามและกิ่งก้านเยอะ สามารถปลูกเกาะกลุ่มเป็นแนวได้ดี ในด้านความสำคัญทางเศรษฐกิจ สามารถปลูกเพื่อจำหน่ายต้นกล้าเพื่อเป็นไม้ประดับและจำหน่ายดอกเพื่อหารายได้เสริมให้ครอบครัวได้ นอกจากนี้ยังใช้ใบนำมาวางตามห้องหรือใกล้ตัวเพื่อป้องกันแมลงหวี่ หรือใช้ใบแห้งนำมาจุดไฟให้มีควันเพื่อไล่แมลงหวี่ได้

ภาพดอกหางนกยูง

หางนกยูงไทย


ที่มา https://medthai.com/%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2/

ดอกยี่หุบ

ดอกไม้ไทย
 สำหรับดอกยี่หุบจัดเป็นไม้ดอกไม้ประดับที่นิยมปลูกชนิดหนึ่งมีลำต้นไม่สูงใหญ่ ลำต้นไม่พลัดใบมีสีเขียวตลอดปี และที่สำคัญมีดอกขนาดใหญ่ สีขาว และดูสวยงาม สามารถปลูกได้ทั้งในแปลงจัดสวน และปลูกในกระถาง โดยเฉพาะต้นพันธุ์จากาการตอนกิ่ง และปักชำ
๗.ดอกยี่หุบ
วงศ์ : MAGNOLIACEAE (วงศ์จำปา)ชื่อสามัญ : Yee hoobชื่อวิทยาศาสตร์: Magnolia coco (Lour.) DC.ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ :Gwillimia indica Rottler ex DC Liriodendron coco Lour.Liriopsis pumila Spach ex Baill. Talauma coco (Lour.)ชื่อท้องถิ่น : ยี่หุบ ยี่หุบหนู ยี่หุบน้อย
 ลักษณะดอกยี่หุบ ออกเป็นดอกเดี่ยวหรือบางครั้งออกเป็นช่อสั้น ๆ ช่อละประมาณ 5-8 ดอก โดยจะออกตามซอกใบใกล้กับปลายกิ่ง ดอกเป็นสีขาวนวลหรือสีเหลืองอ่อนนวล ก้านดอกยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร กลีบดอกมีขนาดใหญ่ ลักษณะงองุ้มและแข็งหนา ดอกตูมโค้งลงเล็กน้อย ส่วนดอกบานจะมีลักษณะคล้ายโดม มีกลีบดอกประมาณ 6-12 กลีบ ลักษณะของกลีบดอกเป็นรูปไข่กลับ เรียงซ้อนเป็นชั้นประมาณ 2-4 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ แต่ละกลีบยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร กลีบดอกหนาและอวบน้ำ มักหลุดร่วงได้ง่าย และมีกาบหุ้มหรือกลีบรองดอกสีขาวนวลหรือสีเขียวนวล 3 กลีบ หนาและแข็ง เวลาบานเต็มที่จะคล้ายกลีบดอกชั้นนอก รูปทรงของดอกเป็นรูปทรงกลมเหมือนผอบ ดอกยาวประมาณ 3 เซนติเมตร และเมื่อดอกบานจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4-5 เซนติเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียจำนวนมาก
สรรพคุณ
 ดอกใช้ดม ช่วยให้ผ่อนคลาย น้ำมันหอมระเหย แก้อาการปวดเมื่อย และเคล็ดขัดยอกร่างกาย ช่วยกระตุ้นระบบประสาท และการไหลเวียนของเลือด บรรเทาอาการฟกช้ำ


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ดอกยี่หุบ

ที่มา https://medthai.com/%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B8%9A/

จันทร์เทศ

ดอกไม้ไทย น้ำมันลูกจันทน์และน้ำมันดอกจันทน์มีฤทธิ์ในการฆ่าลูกน้ำและตัวอ่อนของแมลงได้ ๕๐. จันทร์เทศ จันทน์เทศ ชื่อสามัญ  Nutmeg ชื่อว...