วันอาทิตย์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2560

จันทร์เทศ

ดอกไม้ไทย

น้ำมันลูกจันทน์และน้ำมันดอกจันทน์มีฤทธิ์ในการฆ่าลูกน้ำและตัวอ่อนของแมลงได้

๕๐.จันทร์เทศ
จันทน์เทศ ชื่อสามัญ Nutmegชื่อวิทยาศาสตร์ Myristica fragrans Houtt. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Myristica officinalis L. f., Myristica  จัดอยู่ในวงศ์จันทน์เทศ
ลักษณะของจันทน์เทศต้นจันทน์เทศ มีถิ่นกำเนิดในหมู่เกาะโมลุกกะ ประเทศอินโดนีเซียโดยจัดเป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 5-18 เมตร เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีเทาอมดำ เนื้อไม้สีนวลหอมเพราะมีน้ำมันหอมระเหย โดยต้นจันทน์เทศสามารถขึ้นได้ในดินเกือบทุกชนิด แต่ดินที่เหมาะกับการเจริญเติบโตคือดินร่วนปนทรายที่มีอินทรีย์วัตถุสูง โดยจะเจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อนชื้นโดยเฉพาะทางภาคตะวันออกและทางภาคใต้ของไทย สามารถขึ้นได้ในพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 900 เมตร และนิยมขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ในปัจจุบันพบว่ามีการปลูกทั่วไปในเขตเมืองร้อน ในประเทศไทยจะพบได้มากทางภาคใต้
สรรพคุณองจันทน์เทศดอกจันทน์  และลูกจันทน์  มีรสเผ็ดร้อนและมีกลิ่นหอม เป็นยาร้อนเล็กน้อย โดยออกฤทธิ์ต่อลำไส้และม้าม ใช้เป็นยาทำให้ธาตุและร่างกายอบอุ่น  ดอกจันทน์ ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย แก้ธาตุ ดอกจันทน์ ช่วยแก้ธาตุพิการส่วนตำรับยาจีนระบุว่าให้ใช้จันทน์เทศที่เป็นยาแห้ง 10 กรัม, เนื้อหมากแห้ง 10 กรัม, ดอกคังวู้ 15 กรัม นำมาบดเป็นผง แล้วทำเป็นยาลูกกลอนขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียว ใช้รับประทานครั้งละ 10-20 เม็ด วันละ 3 ครั้งลูกจันทน์ มีรสหอมออกฝาด เป็นยาบำรุงโลก ส่วนอีกตำราหนึ่งก็ระบุว่าดอกจันทน์ (รกหุ้มเมล็ด) ก็มีสรรพคุณบำรุงโลหิตเช่นกัน (ดอกจันทน์ ช่วยกระจายเลือดลม ดอกจันทน์  มีรสเผ็ดร้อน เป็นยาบำรุงกำลัง ส่วนอีกตำราหนึ่งก็ระบุว่าลูกจันทน์ ก็มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลังเช่นกัน ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยทำให้เจริญอาหาร แก้อาการเบื่ออาหาร บ้างระบุว่ารกหุ้มเมล็ดก็ช่วยทำให้เจริญอาหารเช่นกัน ลูกจันทน์ช่วยทำให้นอนหลับได้และนอนหลับสบาย ช่วยแก้อาการหอบหืด  ดอกจันทน์ 
ภาพดอกจันทร์เทศ
จันทน์เทศ

ที่มา:https://medthai.com

ดอกประยงค์

ดอกไม้ไทย

ดอกประยงค์แห้งสามารถนำมาใช้อบเสื้อผ้าให้มีกลิ่นหอม และใช้แต่งกลิ่นใบชาเช่นเดียวกับดอกมะลิ ซึ่งชาวจีนจะนิยมกันมาก

๔๙.ดอกประยงค์
ดอกประยงค์ ชื่อสามัญ Chinese rice flowerชื่อวิทยาศาสตร์ Aglaia odorata Lour. จัดอยู่ในวงศ์กระท้อน 
ลักษณะของประยงค์ต้นประยงค์ มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยพบได้ทั่วไปตามป่าเบญจพรรณ โดยจัดเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ทรงพุ่มทึบค่อนข้างกลม มีความสูงของต้นประมาณ 2-3 เมตรและสูงไม่เกิน 5 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านตั้งแต่โคนต้น เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีเทา ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่ง และวิธีการเพาะเมล็ด ขึ้นได้ดีในทุกสภาพดินฟ้าอากาศ ทนความแห้งแล้งได้ดีมาก แต่ควรปลูกในพื้นที่ที่มีแสงแดดตลอดทั้งวัน เพราะจะช่วยทำให้มีทรงพุ่มสวยงาม
สรรพคุณของประยงค์ในประเทศฟิลิปปินส์จะใช้รากและใบนำมาต้มเป็นยาบำรุงร่างกาย ช่วยทำให้เจริญอาหาร แก้ผอมแห้งแรงน้อย ดอกมีรสเฝื่อนขมเล็กน้อย ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ ทำให้หูตาสว่าง จิตใจปลอดโปร่ง แก้อาการเมาค้าง รากมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ ดอกช่วยดับร้อน แก้อาการกระหายน้ำ ยาชงจากดอกใช้ดื่มแบบน้ำชาจะเป็นยาเย็น สรรพคุณเป็นยาแก้ไข้พุพอง ช่วยแก้อาการไอ  แก้ไอหืด รากช่วยแก้เลือด แก้กำเดา รากมีรสเฝื่อนเย็น ใช้รับประทานเป็นยาทำให้อาเจียน ช่วยแก้อาเจียนเป็นเลือด ใช้เป็นยากวาดเด็ก แก้เสมหะด่าง 
ภาพดอกประยงค์
ประยงค์

ที่มา:https://medthai.com

ดอกดาวเรือง

ดอกไม้ไทย

ปัจจุบันนี้ทุกบ้านจะต้องปลูกดอกดาวเรืองเพื่อที่จะมอบไห้แก่นายหลวง ร ๙

๔๘.ดาวเรือง
ดาวเรือง ชื่อสามัญ African marigold, American marigold, Aztec marigold, Big marigold ชื่อวิทยาศาสตร์ Tagetes erecta L. จัดอยู่ในวงศ์ทานตะวัน 
ลักษณะของดาวเรืองต้นดาวเรือง เป็นพันธุ์ไม้พื้นเมืองของประเทศเม็กซิโดยจัดเป็นไม้ล้มลุก มีอายุได้ราว 1 ปี ลำต้นตั้งตรงมีความสูงประมาณ 60-100 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านมากที่โคนต้น ลำต้นเป็นสีเขียวและเป็นร่อง ทั้งต้นเมื่อนำมาขยี้จะมีกลิ่นเหม็น จึงทำให้แมลงไม่ค่อยมารบกวน โดยจัดเป็นพันธุ์ไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดเป็นหลัก  เจริญเติบโตได้เร็ว ชอบดินร่วน ระบายน้ำได้ดี มีความชื้นปานกลาง และชอบแสงแดดแบบเต็มวันโดยแหล่งเพาะปลูกดาวเรืองที่สำคัญของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดลำปาง พะเยา ราชบุรี นนทบุรี สุพรรณบุรี สมุทรสาคร อุดรธานี และกรุงเทพฯ เป็นต้น โดยดาวเรืองที่พบเห็นและปลูกกันมากในปัจจุบันจะมีอยู่ 5 ชนิด ได้แก่ ดาวเรืองอเมริกัน (Tagetes erecta), ดาวเรืองฝรั่งเศส (Tagetes patula), ดาวเรืองนักเก็ต (Triploid Marigold), ดาวเรืองซิกเน็ต (Tagetes tenuifolia หรือ Tagetes signata pumila) และดาวเรืองใบ (Tagetes 

สรรพคุณของดาวเรืองดอกและรากมีรสขมเผ็ดเล็กน้อย มีฤทธิ์เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อปอดและตับ ดอกใช้เป็นยาฟอกเลือด ในอินเดียจะใช้น้ำคั้นจากช่อดอกเป็นยาฟอกเลือด ใช้ใบแห้งประมาณ 5-10 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้เด็กเป็นตานขโมย ช่วยแก้อาการเวียนศีรษะ ด้วยการใช้ดอกประมาณ 3-10 กรัม ต้มกับน้ำดื่ม ดอกช่วยบำรุงสายและถนอมสายตาได้ดี ในตำรายาจีนจะนำดอกมาปรุงกับตับไก่ใช้กินเป็นยาบำรุงสายตาได้ดี ช่วยแก้ตาเจ็บ ตาบวม ตาแดง ปวดตา ด้วยการใช้ดอกแห้งประมาณ 10-15 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน ดอกใช้รักษาคางทูม ด้วยการใช้ดอกประมาณ 3-10 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม  ส่วนตำรายาจีนจะใช้ดอกแห้ง ดอกสายน้ำผึ้ง เต่งเล้า อย่างละเท่ากัน นำมาบดรวมกันเป็นผง ผสมกับน้ำส้มสายชูคนให้เข้ากัน แล้วนำมาใช้พอกบริเวณที่เป็น ดอกใช้เป็นยาแก้ไข้สูงในเด็กที่มีอาการชักช่วยแก้อาการร้อนใน ช่วยแก้อาการไอหวัด ไอกรน ไอเรื้อรัง ด้วยการใช้ดอกสดประมาณ 10-15 ดอก นำมาต้มกับน้ำผสมกับน้ำตาลรับประทาน
                                                                    ภาพดอกดาวเรือง

ดาวเรือง

ที่มา:https://medthai.com

ดอกรัก


ดอกไม้ไทย

อีกทั้งยังถือเป็นไม้มงคลที่คนไทยแทบทุกคนเคยเกี่ยวข้องด้วย (ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม)

๔๗.ดอกรัก
รัก ชื่อสามัญ Crown flower, Giant Indian Milkweed Giant Milkweed, Tembegaจะเห็นได้ว่าชื่อสามัญจะเรียกกันตามลักษณะของดอกที่คล้ายมงกุฎ หรือลักษณะของน้ำยางสีขาวที่คล้ายน้ำนม และยังบอกอีกว่าเป็นพืชที่มาจากอินเดีย Calotropis gigantea (L.) Dryand. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Calotropis gigantea (L.) R. Br. ex Schult.) จัดอยู่ในวงศ์ตีนเป็ด ( และอยู่ในวงศ์ย่อยนมตำเลีย 
ลักษณะของต้นรักต้นรัก จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กหรือเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง มีความสูงของต้นประมาณ 1-3 เมตร ลำต้นมีเนื้อไม้ แตกกิ่งก้านมากที่โคนต้น และจะแตกกิ่งก้านสาขาแผ่ออกทางด้นข้างพอ ๆ กับส่วนสูงของลำต้น เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือสีเทาคล้ายขี้เถ้า แตกเป็นร่องตามยาว กิ่งจะไม่มีเนื้อไม้ ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนละเอียดสีขาวปกคลุมอยู่หนาแน่น และทุกส่วนของต้นมียางสีขาวข้น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการปักชำ ต้นรักเป็นพืชที่ทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดี โดยเฉพาะในสภาพดินที่ไม่สมบูรณ์และมีความแห้งแล้ง เราจึงมักพบต้นรักขึ้นได้เองตามธรรมชาติทั่วไป ตามที่รกร้าง บริเวณข้างถนน ริมถนน ริมทางรถไฟ ริมคลอง และตามหมู่บ้าน โดยมีเขตการกระจายพันธุ์ตั้งแต่อินเดียไปจนถึงพม่า ไทย จีน คาบสมุทรมลายู ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และนิวกิน
สรรพคุณของต้นรักดอกมีรสเฝื่อน สรรพคุณช่วยทำให้เจริญอาหาร ต้นมีรสเฝื่อนขม มีสรรพคุณช่วยบำรุงทวารทั้งห้า ยางจากต้นเป็นยาแก้อาการปวดหู ปวดฟัน รากใช้เป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้เหนือ ช่วยแก้อาการไอ อาการหวัด แก้หอบหืด ช่วยทำให้อาเจียน ช่วยขับเหงื่อ เปลือกรากมีสรรพคุณช่วยขับเสมหะได้ ช่วยในการย่อย ใช้เป็นยารักษาโรคบิด  แก้บิดมูกเลือด



ภาพดอกรัก

รัก

ที่มา:https://medthai.com

ดอกเล็บมือนาง

ดอกไม้ไทย

ในเมล็ดเล็บมือนางมีพิษ ห้ามรับประทานมากเกินกว่าปริมาณที่กำหนด หากได้รับพิษจะทำให้มีอาการสะอึก อาเจียน วิงเวียนศีรษะ มึนงง อ่อนเพลีย และมีอาการถ่าย


๔๖.เล็บมือนาง
เล็บมือนาง ชื่อสามัญ Rangoon Creeper, Chinese honey Suckle, Drunen sailorเล็บมือนาง ชื่อวิทยาศาสตร์ Combretum indicum (L.) DeFilipps (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Quisqualis indica L.) จัดอยู่ในวงศ์สมอ สมุนไพรเล็บมือนาง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า อ้อยช้าง (อุตรดิตถ์), แสมแดง (ชุมพร), เล็บนาว (สตูล), มะจีมั่ง จ๊ามัง จะมั่ง (ภาคเหนือ), นิ้วมือพระนารายณ์ (ใต้), ไท้หม่อง (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), วะดอนิ่ง อะดอนิ่ง (มะลายู-ยะลา), เล็บมือนางต้น เป็นต้น
ลักษณะของเล็บมือนางต้นเล็บมือนาง มีถิ่นกำเนิดในเอเชียเขตร้อนทั่วไป โดยจัดเป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งขนาดกลาง เลื้อยพาดพันไปกับต้นไม้อื่น ยาวได้ประมาณ 5-7 เมตร และอาจเลื้อยไปได้ไกลมากกว่า 10 เมตร แตกกิ่งก้านสาขาเป็นพุ่มหนาทึบ เถาอ่อนเป็นสีเขียว ตามลำต้นและเถาอ่อนมีขนสีเหลือหรือสีน้ำตาลอมเทาปกคลุมอยู่ แต่ต้นแก่ผิวจะเกลี้ยง โดยเถาแก่เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลปนแดง เปลือกค่อนข้างเรียบ หรือมีหนามเล็กน้อย ต้องหาหลักยึดหรือร้านให้ลำเถามีที่เกาะยึด ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด การตอนกิ่ง หรือเอาเง้าไปปลูกก็ได้ แต่ต้องฝักให้ลึกประมาณ 4 นิ้ว เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ชอบแสงแดดแบบเต็มวัน ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง เจริญเติบโตได้ดีในดินปนทรายหรือดินร่วนปนทรายที่ระบายน้ำดี เติบโตได้เร็ว และจะเลื้อยขึ้นเป็นพุ่มตามร้านที่เตรียมไว้ให้
สรรพคุณของเล็บมือนางรากและใบมีรสเมาเบื่อ เป็นยาสุขุม ส่วนเมล็ดมีรสชุ่มเป็นยาร้อน สรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุ ช่วยทำให้เจริญอาหาร ทั้งต้นมีสรรพคุณช่วยแก้ตานขโมยพุงโร (หรือจะใช้รากผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ จะมีสรรพคุณเป็นยาแก้ตานขโมย แก้เด็กเป็นซาง แก้ซางแห้ง แก้ธาตุวิปริต แก้อุจจาระพิการ แก้ตับทรุด และช่วยทำให้เจริญอาหาร รากและใบใช้เป็นยาแก้ตานซางในเด็กส่วนเมล็ดเป็นยาแก้ตานซาง ตานขโมยในเด็ก ใบหากนำไปผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะเป็นยาแก้ตัวร้อน และแก้อาการปวดศีรษะ ใบใช้ตำพอกแก้อาการปวดศีรษะ ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ เป็นยาแก้ไข้ ช่วยแก้อาการไอ ผลใช้รับประทานแล้วจะทำให้สะอึก
ภาพดอกเล็บมือนาง
เล็บมือนาง



ที่มา:https://medthai.com

ดอกปีบ

อกไม้ไทย

มานำดอกไม้ที่หอมมากคือดอกปีบคนแก่มักจะนำดอกปีบมาเสียบทัดที่ใบหนูเพื่อนจะได้มีกลิ่นหอ

๔๕.ดอกปีบ
ปีบ ชื่อสามัญ Cork tree, Indian cork ชื่อวิทยาศาสตร์ Millingtonia hortensis L.f. จัดอยู่ในวงศ์แคหางค่างต้นปีบ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น เต็กตองโพ่ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), กาซะลอง กาสะลอง กาดสะลอง กาสะลองคำ (ภาคเหนือ), ปีบ ก้องกลางดง (ภาคกลาง) กางของ (ภาคอีสาน) เป็นต้น
ลักษณะของปีบ เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ลำต้นตรง มีความสูงประมาณ 5-10 เมตร เปลือกต้นเป็นสีเทาเข้มแตกเป็นร่องลึก มีช่องอากาศ รากเกิดเป็นหน่อ เจริญเป็นต้นใหม่ได้ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการนำเมล็ดมาเพาะ หรือใช้ต้นอ่อนที่เกิดจากรากรอบ ๆ ของต้นแม่ นำมาตัดเป็นท่อนสั้น ๆ แล้วนำมาปักชำในกระบะกรวยที่ผสมด้วยขี้เถ้าแกลบก็ได้ ปีบเป็นพันธุ์ไม้พื้นเมืองของพม่าและไทยที่ขึ้นกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปตามป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้งทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก และทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สรรพคุณของปีบดอกมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง ช่วยบำรุงโลหิต รากช่วยบำรุงปอด ช่วยรักษาวัณโรค ใช้เป็นยารักษาไซนัสอักเสบ ช่วยรักษาริดสีดวงจมูก ด้วยการใช้ดอกที่ตากแห้งแล้วนำมามวนเป็นบุหรี่สูบเพื่อรักษาอาการ ช่วยรักษาอาการหอบหืด หอบเหนื่อย ทำให้ระบบการหายใจดียิ่งขึ้นด้วยการใช้ดอกปีบแห้งประมาณ 6-7 ดอก แล้วมวนเป็นบุหรี่สูบ เพื่อรักษาอาการหอบหืดได้ ช่วยรักษาปอดพิการ ใช้เป็นยาแก้ลม ใบใช้มวนเป็นบุหรี่สูบแทนฝิ่น เพื่อช่วยขยายหลอดลมและรักษาอาการหอบหืดได้เช่นกัน 
ภาพดอกปีบ

ปีบ


ที่มา:https://medthai.com

ดอกพุดตาน

ดอกไม้ไทย

ดอกพุดตานมีสารฟลาโวนอยด์ ไกลโคไซด์ (Flavonoid glycosides) ซึ่งเป็นสารที่ต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกายได้เป็นอย่างดี

๔๔.ดอกพุดตาน
พุดตาน ชื่อสามัญ Cotton rose, Cotton rose hibiscus, Confederate rose, Confederate rose mallow, Dixie พุดตาน ชื่อวิทยาศาสตร์ Hibiscus mutabilis L. จัดอยู่ในวงศ์ชบาสมุนไพรพุดตาน มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ดอกสามสี สามผิว (ภาคเหนือ) เป็นต้น


ลักษณะของพุดตานต้นพุดตาน มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศจีน ชาวจีนเชื่อว่าต้นพุดตานเป็นไม้มงคล เพราะดอกพุดตานสามารถเปลี่ยนสีได้ถึง 3 สีภายในวันเดียว เปรียบเสมือนของชีวิตคนที่เริ่มต้นเหมือนเด็กที่เป็นผ้าขาว แล้วค่อย ๆ เจริญเติบโตพร้อมกับสีสันที่แต่งแต้มขึ้นมา เมื่ออายุมากขึ้นก็พร้อมที่จะเปลี่ยนสีเป็นสีเข้มจนกระทั่งได้ร่วงโรยลงไป เชื่อว่าต้นพุดตานนี้ได้มีการนำเข้ามาปลูกในประเทศไทยในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นช่วงค้าขายกับชาวจีน โดยจัดเป็นพรรณไม้พุ่มที่มีความสูงประมาณ 5 เมตร ต้นและกิ่งมีขนสีเทา ต้นพุดตานชอบอยู่กลางแจ้ง ชอบแสงแดดจัด ๆ ไม่ชอบที่มีน้ำขังหรือที่แฉะ เจริญเติบโตได้ดีในที่ดอน มีดินร่วนซุย ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่งและวิธีการปักชำ

สรรพคุณของพุดตานดอกพุดตานมีรสฉุนและสุขุม สรรพคุณช่วยแก้อาการไอ อาเจียนเป็นเลือด มีระดูขาว (ดอก)รากช่วยแก้อาการไอหอบ มีระดูขาว (ราก)ใบช่วยแก้อาการตาแดงบวม (ใบ)ใช้เป็นยารักษาคางทูม ด้วยการใช้ใบแห้งประมาณ 10-15 ใบ นำมาบดให้ละเอียดแล้วเติมไข่ขาวลงไปผสมให้เข้ากัน เพื่อให้ยาจับกันเป็นแผ่น แล้วนำมาพอกปิดบริเวณที่บวมเป็นคางทูม โดยให้เปลี่ยนยาวันละ 2 ครั้ง จนกว่าจะหายบวม หรืออีกวิธีจะใช้ดอกพุดตานแห้งก็ได้ โดยใช้ประมาณ 3-12 กรัม และใบสดประมาณ 30-40 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทานแก้อาการ หรือจะใช้ทาภายนอกด้วยการนำมาบดเป็นผงผสมหรือใช้แบบสด ๆ นำมาตำแล้วพอกก็ได้ (ใบ, ดอก)ใช้เป็นยารักษาแก้งูสวัด โดยใช้ใบสดล้างน้ำสะอาดประมาณ 4-5 ใบ นำมาตำให้ละเอียด แล้วเติมน้ำซาวข้าวลงไป แล้วนำมาใช้ทาบริเวณที่เป็นบ่อย ๆ หรืออีกวิธีก็คือการใช้รากพุดตานสดนำมาตำแล้วพอก หรือจะนำรากแห้งมาบดให้เป็นผงผสมแล้วใช้พอกก็ได้รากนำมาต้มน้ำกินหรือนำมาฝนใช้ทา ใช้เป็นยารักษาโรคผื่นคันตามผิวหนัง อาการปวดแสบปร้อนตามร่างกาย และรักษาอาการประดงได้ รากพุดตานช่วยแก้ฝีบวม ฝีฝักบัว ฝีหัวแก่ได้ ด้วยการใช้รากแห้งประมาณ 30 กรัม นำมาต้มกับน้ำดินแก้อาการ ช่วยแก้ผดผื่นคันที่เกิดจากความชื้น ด้วยการใช้ก้านและใบสดปริมาณพอสมควรนำมาต้มเอาน้ำ ใช้ชะล้างบริเวณที่เป็น ใบและดอกพุดตานใช้เป็นยาถอนพิษ แก้พิษบวม รักษาแผลมีหนอง แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ด้วยการใช้ใบสดล้างน้ำสะอาดประมาณ 3-4 ใบ นำมาตำให้ละเอียดแล้วผสมเข้ากับน้ำมันพืช แล้วนำมาใช้ทาบริเวณแผล หรือจะใช้ใบแห้งผสมกับน้ำผึ้งแล้วใช้ทาแทนก็ได้ ช่วยรักษาแผลเน่าเปื่อยต่าง ๆ ด้วยการใช้รากแห้งประมาณ 30 กรัม นำมาต้มกับน้ำกิน


ภาพดอกพุตตาน
พุดตาน


ที่มา:https://medthai.com

จันทร์เทศ

ดอกไม้ไทย น้ำมันลูกจันทน์และน้ำมันดอกจันทน์มีฤทธิ์ในการฆ่าลูกน้ำและตัวอ่อนของแมลงได้ ๕๐. จันทร์เทศ จันทน์เทศ ชื่อสามัญ  Nutmeg ชื่อว...